บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา (อังกฤษ: Bill of Quantities/B.O.Q.) คือเอกสารหนึ่งของเอกสารประกวดราคา (Tender Documents) และเอกสารสัญญา (Contract Documents) ที่ใช้เพื่อการประกวดราคาและการก่อสร้าง องค์ประกอบของบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา[แก้]บัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
ตัวอย่างของบัญชีแสดงปริมาณวัสดุและราคา สำหรับงานราชการในประเทศไทย[แก้]จากเอกสารกรมโยธาธิการและผังเมือง
การแยกประเภทของBOQ สำหรับการก่อสร้างบ้าน 1 หลังนั้นมีรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้การรวมรายละเอียดทั้งหมดไว้ในBOQ เพียงชุดเดียวอาจจะทำให้เกิดการผิดพลาดได้ ดังนั้น ในการนำเสนอBOQ ส่วนมากจะนำเสนอตามประเภทของงานก่อสร้างที่แตกต่างกัน โดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน ได้แก่
บุคลากรสายงานก่อสร้างที่มีความรู้ในการอ่านแบบก่อสร้างสามารถทำ BOQ ได้ทั้งหมด โดยทั่วไปการทำ BOQ จะทำโดยผู้ออกแบบในส่วนงานนั้น เช่น ส่วนออกแบบสถาปัตยกรรม ทำ BOQ โดยสถาปนิก ส่วนออกแบบโครงสร้าง ทำ BOQ โดยวิศวกรออกแบบโครงสร้าง ส่วนออกแบบงานระบบ (ไฟฟ้า ประปาและสุขาภิบาล) ทำ BOQ โดยวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรเครื่องกลและวิศวกรระบบท่อ โดยทั่วไป เมื่อได้ BOQ กลาง แล้ว เจ้าของบ้าน ก็จะส่งแบบเพื่อให้ผู้รับเหมาทำการคิด BOQ เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับ BOQ กลางของตัวเอง (BOQ กลาง คือ BOQ ที่เกิดจากการประเมินอย่างคร่าวๆ ใช้ราคาทั่วไป กลางๆ เป็นตัวชี้วัด ซึ่งจากประสบการณ์ส่วนตัวหลายครั้ง การคำนวณสเป็ควัสดุ และราคามีข้อผิดพลาด ไม่สะท้อนความเป็นจริง) ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ และมีทีมวิศวกร ก็จะมีการทำ BOQ ของตัวเอง เพื่อประกอบการคิดคำนวณ และสะท้อนต้นทุนการก่อสร้างที่แท้จริง ซึ่งช่วยป้องกันข้อผิดพลาดและความเสียหายที่จะ เกิดขึ้น โดยหากใช้ ราคาที่ไม่สามารถทำงานได้จริง ก็มีความเสี่ยง กับภาวะการขาดทุนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ผู้รับเหมาบางราย ก็ไม่อยากทำ BOQ เพราะการทำ BOQ ออกมานั้น มีค่าใช้จ่ายในการทำ และมีรายละเอียดค่อนข้างสูง ทำให้เสียเวลามากในการทำ และในหลายๆ ครั้ง เมื่อทำเสร็จแล้ว ก็อาจไม่ได้รับการจ้างงาน หรือบางรายอาจใช้วิธีสรุปราคาค่าก่อสร้างให้เห็นราคาเป็นต่อตารางเมตรแทน โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดให้เจ้าของบ้านทราบ ตอบได้คำเดียวเลยว่า ไม่ได้ครับ เนื่องจากการถอด BOQ จะอิงราคาตลาดเป็นหลัก ทั้งราคาค่าแรงงานก่อสร้าง ราคาวัสดุก่อสร้าง ราคาสินค้าและบริการเหล่านี้ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เมื่อเวลาผ่านพ้นไป 5 ปี วัสดุบางรายการอาจจะคงที่ แต่วัสดุบางรายการอาจจะแพงขึ้น จึงไม่สามารถนำมาใช้งานได้ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายถึงจะใช้ไม่ได้ทั้งหมดนะครับ ราคาดังกล่าวยังพอจะเป็นเกณฑ์ในการประเมินเบื้องต้นได้ แต่หากต้องการดำเนินก่อสร้างจริง แนะนำให้ผู้รับเหมาที่ว่าจ้าง ทำการถอด BOQ ให้ใหม่ ย่อมดีกว่าครับ ประโยชน์ของ BOQ
หนึ่งในเรื่องที่เชื่อว่า ผู้รับเหมา ในปัจจุบันได้ยินว่ามีการเอ่ยถึงบ่อยมากก็น่าจะมีเรื่องของ BOQ เรื่องหนึ่งแน่นอน ทั้งนี้จากปัจจุบัน เจ้าของบ้านนิยมทราบข้อมูลที่ชัดเจนของงานก่อนให้เริ่มงานก่อสร้าง ซึ่งเจ้า BOQ นี้ย่อมาจาก Bill of Quantities หรือหมายถึง รายการประมาณการก่อสร้าง ซึ่งในนั้นจะมีการแบ่งส่วนงาน และระบุเรื่องของวัสดุ ขนาด ประเภทราคา และจำนวนเอาไว้ และสามารถทำได้ละเอียดถึงขนาดกำหนดขอบเขตงานในแต่ละงวด ทำให้เจ้าของบ้านทราบได้อย่างชัดเจนว่าจะต้องง่ายเงินเท่าไหร่ในขั้นตอนไหน แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีความขัดแย้งกันระหว่าง เจ้าของบ้านกับ ผู้รับเหมา ได้บ่อย เช่น กรณี ผู้รับเหมาก่อสร้างทำ BOQ มาให้แต่เจ้าของบ้านไปจ้างเจ้าอื่น (อ่านรายละเอียดได้จากเรื่อง “ ผู้รับเหมาทำ BOQ ส่งแต่เจ้าของบ้านจ้างเจ้าอื่นแทน …” ) ซึ่งทำให้ ฝ่ายของ ช่างรับเหมา รู้สึกว่าเสียเปรียบ จึงมีการโอนภาระนี้ไปให้เจ้าของ ก็คือ การให้ฝ่ายเจ้าของบ้านหรือผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดทำ BOQ ขึ้นมา แล้วช่างจะเป็นฝ่ายเข้ามาดู เพื่อที่จะตกลงราคากันอีกที ไม่ต้องเสียเวลาทำแล้วโดนเอาไปฟรี ที่ทำให้เสียความรู้สึก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียง จนถึง… เกี่ยงกัน ระหว่าง เจ้าของบ้านผู้ว่าจ้างกับฝ่ายของ ผู้รับเหมา ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ที่เหมาะจะทำ BOQ มากกว่ากัน… ฝ่ายเจ้าของบ้าน ก็อาจจะมีบ้างที่บอกว่า เป็นหน้าที่ของฝ่าย ผู้รับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากเป็นผู้เสนอตัวทำงาน รับเหมาก่อสร้าง ให้กับเขา ซึ่งเขาย่อมตัดสินใจไม่ได้หากว่าไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอ… ฝ่าย ผู้รับเหมา ก็อาจจะมีบ้างที่บอกว่า เรื่องนี้เหมาะที่จะเป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน เนื่องจากเป็นผู้ว่าจ้าง ควรมีข้อมูลที่ชัดเจนเพื่อให้ฝ่ายช่างสามารถพิจารณาและตัดสินใจได้ง่ายในการทำงาน… อีกทั้งการจะทำเอกสารนี้มีราคา ทาง ผู้รับเหมา เองก็กังวลว่าจะโดนขอฟรีๆ แล้วเอาไปจ้างคนอื่นให้ทำแทนตัวเองไม่ได้งาน ทำให้เสียความรู้สึกและเสียเวลาในการทำเปล่าๆ หากว่าเถียงกันแบบนี้เห็นจะไม่จบไม่สิ้น และงานอาจจะไม่เกิดขึ้นสักที เพราะตกลงกันไม่ได้ ต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผล ดังนั้นทางออกที่ดีอย่างหนึ่งก็คือ… การทำ BOQ ทั้งสองฝ่าย หมายความว่า ทั้งคู่ต่างมี BOQ ของตัวเองถือเอาไว้ แล้วเอามาเทียบกันเพื่อตกลงในการทำงาน เหตุผลที่เสนอให้ทำทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เพราะตัดปัญหาแก้รำคาญ แต่เป็นเรื่องที่มีประโยชน์จริงๆ กับทั้งคู่ เนื่องจากฝ่ายเจ้าของบ้านซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง ควรจ้างให้คนเขียนขึ้น เพื่อให้ในการเทียบราคา พูดง่ายๆ ก็คือ เราก็มีข้อมูลสำรวจมาแล้วหนึ่งชุด ทำให้สามารถตรวจสอบราคาที่ ผู้รับเหมา เสนอมาได้อย่างสะดวก และอยากขอเสนอว่า เอกสารชุดนี้ควรให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานที่จะเกิดขึ้นเป็นคนทำ อาจจะเป็นสถาปนิกก็ได้ ส่วนในด้านของ ผู้รับเหมา แน่นอนว่าควรมีของตนเองอีกหนึ่งชุด เพื่อจะใช้เป็นเอกสารเพื่อให้เจ้าของงานได้ทราบขั้นตอนการทำงาน ราคา และเงินที่ต้องเตรียมในแต่ละงวดงานว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ และเอกสารของฝ่าย ผู้รับเหมาก่อสร้าง นี้ เป็นส่วนที่ใช้ในการแนบท้ายเอกสารสัญญาจ้างในการทำงาน รับเหมาก่อสร้าง รวมถึงสามารถใช้ประกอบการยื่นเรื่องขอกู้เงินจากสถาบันการเงินได้อีกต่างหาก นี่เป็นเหตุผลที่ทั้งฝ่าย เจ้าของบ้าน และ ที่ ผู้รับเหมา ควรมีการทำ BOQ ของตนเองมาทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี ที่จะได้มีข้อมูลมายืนยันกันให้ชัดเจน ดีกว่าเกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา ทำให้งาน รับเหมาก่อสร้าง ไม่ได้เริ่มต้นสักที เจ้าของบ้านก็ไม่ได้งานสิ่งปลูกสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็ไม่ได้งานสักที สู้ทำแบบนี้ดีกว่า รวดเร็วชัดเจน ขอบคุณบทความจาก : houzzMate.com แหล่ง หาช่าง ผู้รับเหมา ค่า “K” หรือ ESCALATION FACTOR คือ ตัวเลขดัชนีที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของค่างาน ณ ระยะเวลาที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเปิดซองประกวดราคาได้ เปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ส่งงานในแต่ละงวด โดยมีเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้
องค์ประกอบของค่า Kค่า K ประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ ดังนี้
Factor F คือ ค่าตัวเลขซึ่งกำหนดขึ้นตามมติคณะกรรมการควบคุมราคากลาง (ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554) ใช้คูณราคาต่อหน่วยของต้นทุน (Unit Cost) ออกมาเป็น ราคาค่างานของโครงการ Factor F ประกอบด้วย ค่าอำนวยการ ดอกเบี้ย กำไร และ ภาษี แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ งานทาง งานอาคาร และ งานสะพานและท่อเหลี่ยม กรมบัญชีกลางปรับดอกเบี้ยเงินกู้คำนวณราคากลางใหม่กรมบัญชีกลางเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ใช้คำนวณราคากลางงานก่อสร้าง จากเดิม 6% เป็น 5%
กรมบัญชีกลางจึงกำหนดและประกาศให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง ที่อัตรา 5% ต่อปี ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการราคากลาง และขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2560 ซึ่งกำหนดให้ใช้ค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมประเภท MLR ของธนาคารใหญ่อย่างน้อย 3 ธนาคาร โดยให้กำหนดเป็นตัวเลขกลม กรณีเป็นเศษ ถ้าเศษถึง 0.50 ให้ปัดขึ้น ถ้าไม่ถึง 0.50 ให้ปัดลง และหากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยฯ เปลี่ยนแปลงถึง 1% ให้ประกาศ จัดทำและแจ้งเวียนตาราง Factor F ใหม่ ที่สอดคล้องกับการประกาศดังกล่าวด้วย เพื่อให้หน่วยงานของรัฐทราบ และใช้ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างต่อไป เพื่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับใช้เป็นเกณฑ์คำนวณราคากลางงานก่อสร้าง และ Factor F ที่สอดคล้องกับความเป็นจริง เกิดประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงานของรัฐและประชาชนต่อไป ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐสามารถดาวน์โหลดตาราง Factor F ใหม่ ได้จาก www.gprocurement.go.th หัวข้อประกาศคณะกรรมการราคากลาง เตรียมการ
|
AuthorTHAI BOQ ArchivesCategories
All
บทความแนะนำขอสินเสื่อบ้าน |