BEC คือ มาตรฐานหลักเกณฑ์สำหรับการออกแบบบอาคารที่ก่อสร้างใหม่ หรือปรับปรุงดัดแปลงอาคาร เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy Code : BEC) หรือกฏกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษณ์พลังงาน พ.ศ. 2563 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 โดยเริ่มใช้กับอาคารขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาด 5,000 ตร.ม. และบังคับใช้สำหรับอาคาร 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป BEC (Building Energy Code) เป็นเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร โดยเริ่มต้นตั้งแต่การออกแบบอาคารให้สามารถลดความร้อนเข้าสู่อาคาร พร้อมเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาตราฐาน BEC เริ่มบังคับใช้กับอาคารขนาดใหญ่ใน 9 ประเภท ได้แก่ (1) สถานศึกษา (2) สำนักงาน (3) อาคารโรงมหรสพ (4) อาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า (5) อาคารสถานบริการ (6) อาคารชุมนุมคน (7) อาคารโรงแรม (8) สถานพยาบาล และ (9) อาคารชุด ที่ใช้พื้นที่ใช้สอยในอาคารรวมกันในหลักเดียวกัน ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม. ขึ้นไป ต้องออกแบบให้มีการใช้พลังงานในแต่ละส่วนที่กำหนด ให้เป็นไปตามเกณฑ์การใช้พลังงานตามมาตรฐานขั้นต่ำ โดยให้มีผู้รับรองผลการประเมินด้านพลังงาน ที่ได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป็นผู้รับรองข้อมูลเพื่อประกอบการยื่นตามขั้นตอนปกติในการขออนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฏหมายควบคุมอาคาร 6 มาตรฐานและหลักเกณฑ์
ทั้งนี้ ตัวเลขล่าสุดจากระบบฐานข้อมูลการอนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ปัจจุบันมีจำนวนอาคารกว่า 5,097 อาคาร โดย Top 3 ของประเภทอาคารได้แก่ อาคารชุด (Condominium) คิดเป็น 54.09 % สำนักงาน (Office) 12.79 % และโรงแรม (Hotel) 11.58%
0 Comments
ปัจจุบันต้องยอมรับว่า ‘โลกร้อน’ ได้กลายเป็นหนึ่งปัญหาหนักที่สร้างความเสียหายทั่วโลก ทั้งปัญหาภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ภาวะขาดแคลนอาหาร ปัญหาภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้น ปัญหาสุขภาพ ความความยากจน และสิ่งมีชีวิตเสี่ยงสูญพันธุ์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทั่วโลกหันมาโฟกัสและพยายามหาทางแก้ปัญหานี้ร่วมกัน โดยหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาแบบยั่งยืนที่หลาย ๆ ประเทศเริ่มให้ความสนใจคือ การสร้างมาตรฐานอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน ทำความรู้จัก! อาคารประหยัดพลังงาน หรือ อาคารสีเขียว คืออะไรถ้าพูดถึง ‘อาคารสีเขียว’ คนส่วนใหญ่อาจเข้าใจว่าหมายถึงอาคารแนว Vertical Forest หรืออาคารป่าแนวตั้งที่ออกแบบพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ได้จำนวนมากเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว อย่างอาคาร Bosco Verticale มิลาน ประเทศอิตาลี The Nanjing Green Towers นานกิง ประเทศจีน โครงการ 1000 Trees เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน หรืออพาร์ตเมนต์ M6B2 Tower ปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ในความจริงแล้วความหมายของอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน คือ อาคารแบบยั่งยืน (Sustainability) ที่วางแนวทางปฏิบัติให้เกิดการใช้ทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการจัดการทรัพยากรน้ำ ไฟฟ้า พื้นที่ การก่อสร้าง การจัดการของเสีย โดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้ใช้งานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดอาคารประหยัดพลังงาน สามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับอาคารเก่าและอาคารใหม่ สำหรับกรณีอาคารเก่าเป็นการนำระบบและวัสดุใหม่เข้าไปแทนระบบเก่าหรือวัสดุเก่าที่ขาดประสิทธิภาพ ในขณะที่การสร้างอาคารใหม่ ควรเริ่มวางแผนการตั้งแต่การออกแบบและวางระบบการระบบการจัดการพลังงานภายในอาคารให้ตรงตามมาตรฐานอาคารสีเขียว มาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานมีอะไรบ้าง
อยากออกแบบอาคารให้ประหยัดพลังงาน ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง? ตามหลักเกณฑ์อาคารประหยัดพลังงานแบบต่าง ๆ ไม่ว่า TREES, LEED, EDGE หรือ WELL Building Standard เห็นได้ว่าการสร้างอาคารที่อยู่อาศัยและโรงงานอุตสาหกรรม หรือปรับปรุงอาคารเดิมเพื่อให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานอาคารสีเขียว ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจทั้งการออกแบบโครงสร้าง การเลือกวัสดุก่อสร้าง และการวางระบบการจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถึงแม้ว่าไม่สามารถทำได้ครบในทุกข้อ แต่การเริ่มเปลี่ยนก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการลดการใช้พลังงานในอาคาร นำไปสู่การลดค่าใช้จ่าย การจัดการแบบยั่งยืน พร้อมก้าวไปเป็นอาคารสีเขียวแบบสมบูรณ์แบบ สำหรับวิธีการออกแบบอาคารประหยัดพลังงานควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศการสร้างอาคารประหยัดพลังงานใหม่ค่อนข้างจัดการได้ง่ายกว่า ในเรื่องการวางตำแหน่งของอาคารให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เพราะสามารถกำหนดทิศทางของอาคารที่ส่งผลดีต่อการประหยัดพลังงานในอาคารแบบยั่งยืนได้ง่ายกว่าอาคารเก่า โดยในการออกแบบอาคารควรตรวจสอบตำแหน่งทิศทางของลม ทิศทางของแสงและการลาดเอียงของพื้นดินก่อนเขียนแบบอาคาร เช่น
3. การถ่ายเทอากาศข้อดีแรกของการวางระบบการถ่ายเทอากาศในอาคารประหยัดพลังงาน คือ ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศในระยะยาว ซึ่งสิ่งเหมาะสมที่สุดคือ การสร้างช่องลมระบายอากาศให้สูง เพื่อให้ลมลอยขึ้นไปและระบายออกสู่ตัวอาคาร อย่างไรก็ตามการสร้างช่องเปิดตามธรรมชาติเพื่อรับแสง รับลม หรือระบายอากาศ ต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณแสงและความร้อนที่เข้ามา ไม่ควรสร้างช่องลม ช่องแสงขนาดใหญ่ แต่หากจำเป็นต้องออกแบบให้กว้าง ควรติดตั้งอุปกรณ์บังแดด เพื่อลดความร้อนที่ไหลเข้ามา 4. รูปร่างและรูปทรงของตัวอาคารสำหรับลักษณะของอาคารประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพเป็นอาคารที่มีอัตราส่วนพื้นที่ต่ำ พื้นที่ใช้สอยน้อย และรูปทรงโค้งมน เพราะจะทำให้การรั่วซึมของอากาศเย็นภายในน้อยกว่าอาคารขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ใช้สอยสูง ซึ่งถ้าเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก คือ ทรง Cylinder ทรง Cube ทรง Box และ ทรง Complex form แต่ทั้งนี้หากปรับเป็นการออกแบบอาคารในลักษณะจั่วสูงก็จะช่วยระบายอากาศและความร้อนได้ดีมากขึ้น 5. การใช้ผนังทึบและผนังใสในบริเวณต่าง ๆ ความแตกต่างระหว่างการใช้ผนังทึบกับผนังใสคือ การต้านทานความร้อน โดยผนังแบบทึบสามารถต้านทานความร้อนได้มากกว่าผนังใสหรือกระจกใส ดังนั้นอาคารประหยัดพลังงานจึงนิยมใช้เป็นผนังทึบที่มีการติดตั้งฉนวนความร้อน ใช้สีโทนอ่อนที่มีการดูดกลืนความร้อนน้อยกว่าโทนเข้มเพื่อเพิ่มคุณสมบัติการต้านทานความร้อนให้กับอาคารมากขึ้น แต่กรณีเลือกใช้ผนังโปร่งหรือกระจกเพื่อความสวยงาม ควรเลือกใช้กระจกที่มีคุณสมบัติกันความร้อนทดแทน เช่น
7. วัสดุของหลังคาหลังคาเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับแสงโดยตรง เพราะฉะนั้นหากต้องการปรับให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานแบบยั่งยืน ควรเลือกหลังคาทึบสีอ่อนที่มีมวลสารน้อยรวมถึงสะสมความร้อนน้อยด้วย และที่สำคัญต้องมีการบุฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ซึ่งจะช่วยสะท้อนความร้อนและลดการสะสมของความร้อนในอาคาร สำหรับฉนวนกันความร้อนที่นิยม ได้แก่
9. ใช้พลังงานหมุนเวียนนอกจากการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าจะเป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณารับรองอาคารประหยัดพลังงานของสถาบันต่าง ๆ การวางระบบเพื่อหมุนเวียนยังเป็นการลดการใช้พลังงานและประหยัดค่าใช้จ่ายต่อปีได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย สำหรับระบบการหมุนเวียนพลังงานที่นิยมใช้การลดพลังงานในโรงงานหรืออาคารประเภทต่าง ๆ ได้แก่
สรุปจะเห็นได้ว่าอาคารประหยัดพลังงานมีประโยชน์ ทั้งในแง่ของการประหยัดต้นทุน ประหยัดพลังงาน และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างหรือเปลี่ยนอาคารเก่าให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน เพราะแม้ว่าต้องลงทุนในด้านการออกแบบและวางระบบจัดการมากขึ้น แต่สามารถคืนทุนได้ภายใน 3 – 5 ปี หลังจากนั้นเป็นการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในระยะยาว
ซึ่งผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติและกำลังสร้างอาคารประหยัดพลังงานหรือเปลี่ยนอาคารเก่าให้เป็นอาคารสีเขียวแบบยั่งยืน แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน แนะนำ Sorarus ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบประหยัดพลังงาน คร่ำหวอดอยู่ในวงการด้านการผลิตน้ำร้อนจากพลังงานทดแทนและให้ปรึกษากับภาคธุรกิจมากว่า 40 ปี ติดตั้งมาแล้วกว่า 1,000 แห่ง การันตีวัสดุติดตั้งใช้งานได้นานกว่า 100 ปี รับประกันคืนทุนไวและประหยัดต้นทุนทรัพยากรได้มากถึง 50-70% แน่นอน |