FLAC แบรนด์ระบบหลังคาจากเยอรมันผู้นำเสนอนิยามของความโมเดิร์นกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตภายใต้หลังคาของบ้านสำหรับทุกคน หลังจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์รุ่น SD S และ L จนได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากลูกค้าผ่านความสนุกจากการดีไซน์บ้าน และการแก้ปัญหาที่เคยพบจากหลังคาโมเดิร์นแบบเดิม ๆ จนได้ครบทุกความต้องการ ต่อยอดมาสู่งานระบบหลังคารุ่นใหม่ FLAC X ที่แก้ปัญหางานหลังคาให้จบในโซลูชั่นเดียว ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันกับพาร์ทเนอร์ บริษัท Renolit จากประเทศเยอรมัน เจ้าของแบรนด์ Alkorplan ผู้มีชื่อเสียงระดับโลกมาอย่างยาวนาน ภายใต้แนวความคิด Made For Life การออกแบบเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตภายในบ้าน พร้อมแก้ปัญหางานหลังคาที่เคยกวนใจให้อยู่อาศัยได้อย่างราบรื่นและเปี่ยมความสุข ลดปัญหาเกาะความร้อน Heat Island Effect หรือปัญหาเกาะความร้อน คือปรากฏการณ์ที่บริเวณพื้นผิวหลังคามีอุณหภูมิสูงกว่าภายนอก และมีความแตกต่างของอุณหภูมิเป็นอย่างมากในตอนกลางคืน เพราะมีการสะสมความร้อนประกอบกับความร้อนที่ปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานภายในอาคาร มวลความร้อนจึงสะสมในเมืองอย่างหนาแน่น ซึ่งเป็นปัญหาหลักทางระบบนิเวศวิทยาเมืองในปัจจุบัน FLAC X แก้ปัญหานี้ด้วยคุณสมบัติการสะท้อนความร้อนกลับออกได้มากถึง 91% พร้อมกับผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่มีค่า SRI หรือ Solar Reflectance Index ที่ 115 ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในตลาด โดยค่านี้ใช้สำหรับทดสอบความสามารถของวัสดุในการสะท้อนความร้อนและแสงแดดกลับออกไปจากหลังคา อุณหภูมิที่พื้นผิวหลังคาจึงลดลง และปัญหาเกาะความร้อนก็จะลดลงตามไปด้วย ช่วยประหยัดพลังงาน จากคุณสมบัติข้อก่อนหน้าที่ช่วยลดการกักเก็บและสะท้อนความร้อนกลับออกไปจากหลังคา หลังคา FLAC X รุ่นใหม่ จึงสามารถรักษาอุณหภูมิที่ผิวหลังคาได้ต่ำ เพียง 45 องศาเซลเซียสในช่วงแดดจัด เมื่อหลังคาไม่มีความร้อน ส่งผลให้การรักษาอุณหภูมิภายในห้องทำได้คงที่หรือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก จึงลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศระหว่างเปิดใช้งาน โดยเครื่องปรับอากาศจะทำงานเบาลงและเย็นเร็วขึ้น ด้านผู้ใช้งานก็จะรู้สึกสบายตัว เพราะไม่มีการถ่ายเทไอความร้อนจากหลังคาลงมาภายในบ้าน ทำให้ระบบแอร์ทำงานเต็มประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบโซลาร์เซลล์ พลังงานทางเลือกอย่าง Solar Cell ประจำบ้านกลายมาเป็นโซลูชั่นให้กับบ้านรุ่นใหม่มากมายในการใช้พลังงานจากธรรมชาติที่สะอาดและช่วยประหยัด โดยเฉพาะหลังคาแบนที่รับแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ หลังคาของ FLAC X ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบโซลาร์เซลล์ได้ถึง 3-5% เหตุผลอันเนื่องมาจากตัวหลังคาที่ช่วยสะท้อนแสงแดดให้เข้าโดนแผงโซลาร์เซลล์โดยตรงได้เป็นอย่างดีจากคุณสมบัติของค่า SRI ส่งผลต่อเนื่องในการเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแสงแดดและผลิตกระแสไฟฟ้าในระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ให้ได้ค่าพลังงานที่ดีขึ้น แผ่นหลังคา เคลือบกันฝุ่นเกาะ ปกป้องให้สวยงามตลอดอายุการใช้งาน เพราะเป็นพื้นที่ที่ยากต่อการดูแลรักษา FLAC X จึงเพิ่มความพิเศษของงานหลังคาด้วยการเคลือบสารช่วยลดฝุ่นเกาะหลังคา หรือ Repellent Coating ที่ช่วยให้ล้างทำความสะอาดได้ง่าย พร้อมกับปกป้องสีขาวของหลังคาให้สวยงามคงอยู่ยาวตลอดอายุการใช้งาน เมื่อฝุ่นไม่เกาะ ทำให้การดูแลรักษาและการทำความสะอาดทำได้ง่ายขึ้น ก็จะส่งผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่คงอยู่เพื่อผู้ใช้งานภายใต้ร่มเงาหลังคาอย่างสม่ำเสมอ ช่วยรักษาค่าการสะท้อนแสงแดดและความร้อนได้คงประสิทธิภาพอย่างคงที่ และสร้างความสุขให้กับการใช้ชีวิตแบบไร้เรื่องกวนใจ รองรับมาตรฐานความยั่งยืนระดับโลก เรื่องสำคัญของงานวัสดุและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างยุคใหม่คือความยั่งยืน เช่นเดียวกันกับผลิตภัณฑ์ FLAC X รุ่นใหม่ซึ่งออกแบบโดยคำนึงถึงความยั่งยืนเป็นหลัก เริ่มต้นตั้งแต่คุณสมบัติที่ช่วยลดเกาะความร้อน จึงช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ช่วยลดการใช้พลังงานภายในอาคาร คุณสมบัติทั้งหมดนี้จึงการันตีกับการใช้งานร่วมในมาตรฐานความยั่งยืนของอาคารทั้งกับ LEED, BREEM และ VERDE compliant การันตีคุณภาพโดย BBA เช่นเดียวกันกับหลังคาทุกรุ่นของ FLAC มั่นใจได้กับคุณภาพและแนวคิดที่สร้างสรรค์เพื่อผู้ใช้งาน เพื่อบ้าน และเพื่อสิ่งแวดล้อม The River House โดย Office AT ผลงานบ้านที่ตอบโจทย์ดีไซน์และฟังก์ชัน บ้านพักตากอากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยาของครอบครัวที่เป็นพื้นที่สันทนาการและพื้นที่ส่วนกลางเพื่อรวมความสุขและไลฟ์สไตล์รอบด้านของชีวิต เปิดมุมมองของห้องรับแขกและห้องอาหารสำหรับครอบครัวทั้งยังรองรับแขกผู้มาเยือนได้มากถึง 50 คน ด้วยวิวของแม่น้ำเจ้าพระยา มุมมองนี้ที่เป็นพื้นที่ไฮไลท์ซึ่งต้องการเปิดสายตาและทัศนวิสัยแบบไร้สิ่งใดบดบัง นี่จึงเป็นหน้าที่ของโครงสร้างหลังคา FLAC ด้วยคุณสมบัติระบบหลังคาแบนที่บางและเบา ทำให้โครงสร้างยื่นยาวและรองรับโครงสร้างชั้น 3 ไว้ จึงสามารถยื่นยาวออกมาได้เกือบ 12 เมตรโดยไร้เสาบัง ทอดสายตามองเห็นวิวของโค้งแม่น้ำได้เต็มที่และเต็มตา เรียกว่าปลดล็อกข้อจำกัดของงานออกแบบอาคารแบบเดิม และเพิ่มสุนทรียภาพให้กับการอยู่อาศัยผ่านประสบการณ์ใช้งานพื้นที่จริง และสำหรับผู้ที่สนใจงานระบบหลังคา FLAC สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.d1.co.th/roofing-solution หรือ https://www.facebook.com/d1system/
Photo credit mimetipat สำหรับสถาปัตยกรรมในแบบโมเดิร์น ใจความสำคัญของงานออกแบบอยู่ที่รูปลักษณ์เส้นตรงเรียบเฉียบที่ตอบกับแนวคิดในเรื่องอรรถประโยชน์ที่เน้นฟังก์ชันให้มากที่สุด การตกแต่งให้น้อยที่สุด เช่นนั้นเอง หลังคาแบนราบที่เป็นเอกลักษณ์ของงานโมเดิร์นจึงเป็นอีกลายเซ็นหลักของงานสถาปัตยกรรม และที่สำคัญคือ ฟังก์ชันการใช้งานจริงจะต้องตอบกับบริบทภูมิอากาศแบบเมืองไทยด้วย FLAC มาจากชื่อเต็ม Flachdach ภาษาเยอรมันที่แปลตรงตัวว่า หลังคาแบน FLAC จึงเป็นแบรนด์งานระบบหลังคาที่ต้องการคิดค้น พัฒนา และนำเสนอโซลูชั่นของงานหลังคาแบน หรือ Flat Roof ให้ตอบกับบริบทรอบด้านทั้งจากฟากฝั่งผู้ผลิต ผู้ติดตั้งที่ทำงานหน้างาน และผู้ใช้งานที่ต้องอยู่ใต้ร่มหลังคาแห่งนี้ไปตลอดการอยู่อาศัย ผ่าเซ็กชั่น ลงดีเทล ระบบหลังคาแบน ผู้คนมักติดภาพจำเดิมของงานระบบหลังคาแบนในแบบหลังคา Flat Slab เทปูนคอนกรีตเสริมเหล็กอันเนื่องมาจากรูปลักษณ์ภายนอกที่เรียบตรง แต่แท้ที่จริงแล้ว หลังคาจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติหลายประการ ทั้งเรื่องความลาดเอียงเพื่อระบายน้ำฝน และวัสดุกันซึมเพื่อกันน้ำเข้าสู่อาคาร โดยมีจุดประสงค์หลักอยู่ที่เรื่องการระบายน้ำและความชื้นจากน้ำฝน เราพาคุณลงมาดูรายละเอียดชัดเจนของหลังคา FLAC ที่โฟกัสอยู่ที่งานหลังคาเรียบแบน การพัฒนานวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่ต่อเนื่องมาจากหลังคาแบน และพัฒนาฟังก์ชันให้สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ตลอดอายุขัยของบ้าน เริ่มจากภาพกว้างของงานหลังคาโมเดิร์นที่เส้นตรงขอบบนอาคาร FLAC จึงออกแบบหลังคาที่ความลาดเอียง (Slope) 1:100 เพื่อให้เกิดระยะของความชันที่น้ำฝนยังสามารถไหลมารวมที่รางและระบายออกได้ดี พร้อมกับเก็บขอบอาคารให้เนี้ยบเรียบร้อยด้วยการใส่รางระบายน้ำในตัวหลังคาแทนที่จะทำรางระบายน้ำที่ขอบแบบเดิมๆ และตัวจบขอบ (Flashing) มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ จึงสามารถคงรูปลักษณ์ของหลังคาแบนตอบตามดีไซน์งานโมเดิร์นได้จากทุกมุมมองรอบตัวอาคาร คุณสมบัติตอบปัญหา ในส่วนของคุณสมบัติวัสดุหลังคา ระบบหลังคา FLAC ปิดผิวด้วย Thermoplastic ของบริษัท FDT ซึ่งผลิตและนำเข้าจากเยอรมัน โดย FDT นี้เองเป็นบริษัทแรกของโลกที่ริเริ่มการผลิตแผ่น Thermoplastic ตั้งแต่ปี 1938 จึงมีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมของวัสดุให้สามารถคงทนต่อความร้อนและรังสี UV จากแสงแดดได้เป็นอย่างดี จึงมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยวัสดุ Thermoplastic ของ FDT เป็นตัวเดียวในโลกที่ BBA ออกใบรับรองอายุการใช้งานยาวนานถึง 40 ปี และมีผลงานติดตั้งจริงที่อยู่ได้นานถึง 65 ปี จากข้อดีของวัสดุ Thermoplastic จึงนำมาสู่การคิดค้นการขึ้นรูปวัสดุ และพัฒนาเป็นโซลูชั่นของงานวัสดุหลังคาแบน สำเร็จรูปชิ้นเดียวแบบ Homogenous ซึ่งช่วยตอบคุณสมบัติในเรื่องการกันน้ำได้ 100% เพราะตัวหลังคากับท่อน้ำทิ้งรวมกันสำเร็จรูปเป็นวัสดุชิ้นเดียว จึงหมดปัญหาน้ำรั่วในตำแหน่งข้อต่อต่างๆ อย่างที่พบทั่วไปในช่วงฤดูฝน คุณสมบัติตอบความต้องการ นอกจากจะแก้ปัญหาที่พบได้ทั่วไปจากงานระบบหลังคาแบนแล้ว หลังคา FLAC ยังเพิ่มคุณสมบัติเพื่อตอบความต้องการทั้งในเรื่องฟังก์ชั่นและงานดีไซน์สำหรับการใช้งานภายในบ้านได้อีก ทั้งระบบหลังคาที่รองรับงานดีไซน์แบบ Long-Span หรือคานยื่นยาว รองรับการติดตั้ง Solar Panel แบบไม่เจาะยึดหลังคา และการติดตั้งระบบ Green Roof รวมทั้งโครงสร้างมาตรฐานหรือเพิ่มความแข็งแรงของงานโครงสร้าง ก็สามารถรองรับการใช้งานพื้นที่บนหลังคา เพิ่มพื้นที่ใช้สอยดาดฟ้าขึ้นอีก ในส่วนของการติดตั้งเองก็ทำได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะเป็นงานระบบหลังคาแบบ สำเร็จรูป พร้อมติดตั้งหน้างาน จึงสามารถติดตั้งได้ง่าย และเป็น Dry Process ทั้งหมด โดยสามารถนำไปติดตั้งบนโครงเหล็กได้เลยเหมือนกับงานติดตั้ง Metal Sheet จึงเหมาะกับทั้งงานก่อสร้างใหม่ และงานต่อเติมหลังคา โมเดิร์น : สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยได้จริง และใช้งานได้ดี เรื่องราวของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นถูกบอกเล่าไม่เพียงแต่กับงานดีไซน์ แต่ยังเป็นเรื่องการก่อสร้างและการใช้ชีวิตในพื้นที่จริงแบบเมืองไทย กรณีตัวอย่างจากบ้าน Horizontal House และ Monsoon House บ้านโมเดิร์นทั้งสองหลังงานออกแบบโดย Ayutt and Associates Design (AAd) ที่เลือกใช้งานหลังคา FLAC ภายใต้อัตลักษณ์ความโมเดิร์นที่เป็นของตัวเอง และเป็นบ้านที่ทีมงาน FLAC ภาคภูมิใจ บ้านขอบฟ้า หรือ Horizontal House ความพิเศษอยู่ที่พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านถึง 3,000 ตารางเมตร ทำให้ต้องแบ่งระยะเวลาการก่อสร้างออกเป็น 3 เฟสเพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของโครงการ โดยแบ่งตามฟังก์ชันการใช้งานของที่อยู่อาศัย แกลเลอรี่ส่วนตัว และที่จอดรถสะสม ซึ่งทุกเฟสถูกออกแบบให้เชื่อมต่อกันผ่านทางเดินใต้ดินและบนดิน เพื่อให้โปร่งโล่งและมองเห็นวิวได้ทั้งหมด งานก่อสร้างหลังคาจึงเลือกใช้หลังคา FLAC รุ่น SL ที่ตอบความต้องการเรื่องความโปร่งอันเนื่องมาจากความสูงของอาคาร และหลังคาเองก็ทำหน้าที่ปกป้องของสะสมจากน้ำและความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของบ้านมรสุม หรือ Monsoon House ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อยู่บนเนินเขาชายป่า หันหน้าเข้าอ่าวไทย คุณสมบัติเพิ่มเติมของหลังคาที่ต้องการนอกเหนือจากบ้านทั่วไปคือ ด้วยปริมาณน้ำฝนจำนวนมากและเศษใบไม้จากป่ารอบพื้นดิน ทำให้หลังคาบ้านทั้งหมดต้องไม่มีรางน้ำ และต้องสามารถระบายน้ำฝนออกได้อย่างเร็วที่สุด จึงแก้ปัญหาการปะทะของละอองฝนด้วยชายคาบ้านที่ยื่นยาวมากกว่าปกติที่ 10 เมตร จึงเลือกใช้หลังคา FLAC รุ่น SL ซึ่งมีความชันต่ำและน้ำหนักเบา รองรับแรงลมและมรสุม พร้อมกับทนทานต่อสิ่งแวดล้อมของน้ำและแสงแดดอย่างดี ผลิตภัณฑ์ของ FLAC ระบบหลังคา FLAC มีให้เลือก 2 รุ่น โดยทั้งสองมีความโดดเด่นที่น้ำหนักเบาที่สุดในตลาด (เมื่อเทียบกับหลังคาประเภทที่สามารถขึ้นไปใช้งานได้บนพื้นที่จริง) โดยรุ่นแรก FLAC SD ประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ Support, ฉนวนกันความร้อน และผิว Thermoplastic เหมาะกับห้องติดแอร์ เพราะมีฉนวนความร้อนที่ช่วยลดความร้อนจากนอกอาคาร จึงช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศ โดยทั้งหมดมีความหนาเพียง 60 มิลลิเมตรเท่านั้น และอีกรุ่น FLAC SL ประกอบด้วยชั้น Support และ Thermoplastic รวมความหนา Buildup ทั้งหมดเพียง 18 มิลลิเมตร เหมาะกับงานใต้หลังคาเปิดโล่ง อย่างโรงจอดรถ กันสาด ศาลา โดย S = Strong เน้นความแข็งแรง และ L = Lightness เน้นน้ำหนักเบา จึงเหมาะกับงาน Long Span ที่มีความยาวของหลังคามากๆ
เรียกได้ว่าระบบหลังคาแบนโดย FLAC เป็นแบบ Flat Roofing Solution หรือครบจบงานหลังคาในที่เดียว ตั้งแต่รับความต้องการจากลูกค้า จัดทำแบบ ติดตั้งโครงสร้าง และติดตั้งหลังคา โดยใช้ทีมงานคุณภาพอินเฮาส์ภายในของ D.ONE เองทั้งหมด ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.d1.co.th/roofing-solution เอกสารการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการจะสร้างบ้านสักหนึ่งหลัง รวมถึงขั้นต่อการขออนุญาตก่อสร้างบ้านต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วขั้นตอนเหล่านี้สามารถเตรียมตัวได้ก่อน เพื่อป้องกันความยุ่งยาก ลองมาดูว่าการยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้านมีขั้นตอนอย่างไร และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างได้ที่นี่ การยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้าน 1. ยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่สำนักงานเขตท้องถิ่นในพื้นที่นั้น ๆ เช่น สำนักงานเขตหรือกรุงเทพมหานครสำนักงานเทศบาล สำนักงานเมืองพัทยา ฯลฯ ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ 2. สำนักงานเขตท้องถิ่นตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะในเขตที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองบ้านหรืออาคาร สิ่งปลูกสร้างทุกประเภทจะต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้านก่อน และจะต้องก่อสร้างตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต 3. ได้รับเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน กรณีที่ไม่ได้รับอนุญาต อาจจะมีการให้แก้ไขในบางรายละเอียด ก็ต้องดำเนินการแก้ไข และยื่นขออนุญาตอีกครั้ง 4. เมื่อได้เอกสารการขออนุญาตก่อสร้างบ้านมาแล้ว ควรทำสำเนาทั้งเก็บไว้ ที่ตัวเอง ให้สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา หรือบริษัทรับสร้างบ้าน ดำเนินการก่อสร้างบ้านต่อไป หมายเหตุ: ในระหว่างก่อสร้าง หากมีเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้าน ชุมชนใกล้เคียง เช่น เสียงดังเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด วัสดุก่อสร้างหล่น หรือมีอุบัติเหตุ จนได้รับการร้องเรียน หน่วยงานภาครัฐอาจมีคำสั่งให้หยุดงานก่อสร้างชั่วคราว จนกว่าขั้นตอนทางกฎหมายจะแล้วเสร็จจึงจะมีคำสั่งว่า จะให้ก่อสร้างต่อ หรือให้หยุดก่อสร้างถาวร หลักฐานการขอเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน1. กรอกคำขอเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1) 2. เอกสารแปลนบ้าน แบบบ้าน และรายละเอียดการก่อสร้าง ที่ได้มาตรฐานมีสถาปนิกและวิศวกรเป็นผู้เซ็นรับรองแบบ (กรณีที่ไม่มีสถาปนิก สามารถขอแบบบ้านมาตรฐานจากสำนักงานเขตท้องถิ่นในจังหวัดนั้น ๆ ได้) 3. หนังสือรับรองจากสถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน ผู้ควบคุมและเอกสารจากวิศวกรงานก่อสร้าง 4. สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง หรือเอกสารสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของที่ที่ดินผืนนั้น หรือกรณีเช่าที่ดินปลูกสร้างบ้าน จะต้องมีเอกสารแสดงสิทธิที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของด้วย 5. สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของอาคาร ในกรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน กรณีที่ไม่ได้ไปยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วยตัวเอง จะต้องมีหนังสือแสดงการมอบอำนาจให้กับผู้ที่เป็นตัวแทนในการยื่นขอเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน หมายเหตุ: จำนวนชุดของเอกสาร จะต้องสอบถามข้อมูลอัปเดตจากสำนักงานเขตท้องถิ่นที่จะยื่นขอเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ทำไมต้องยื่นขอเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน คำตอบก็คือ เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเองและชุมชนรอบข้าง เพราะกฎหมายต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดขึ้น ก็เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งปลูกสร้างทุกรูปแบบ เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้าง ระยะร่นจากถนน ระยะห่างจากชุมชนรอบข้าง ฯลฯ เพื่อไม่ให้สิ่งปลูกสร้างเกิดใหม่กระทบกับการอยู่อาศัยเดิมของชุมชนรอบข้าง ลองคิดภาพ หากปล่อยให้ทุกคนสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ตามใจชอบ ไม่ต้องขออนุญาต จะเป็นเช่นไร บ้านจัดสรร VS บ้านสร้างเอง กับการขออนุญาตก่อสร้างการซื้อบ้านในโครงการจัดสรร การขออนุญาตต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของเจ้าของโครงการ หรือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโครงการจัดสรรก็จะมีกฎระเบียบ ข้อบังคับมากกว่าการก่อสร้างบ้านทั่วไปเพียงไม่กี่หลัง ผู้ที่ซื้อบ้านในโครงการจัดสรร ไม่ต้องยุ่งยากในขั้นตอนสร้างบ้าน รวมถึงไม่ต้องยุ่งยากทั้งเรื่องการขอใช้น้ำประปา ไฟฟ้า เลขที่บ้าน เตรียมเงินให้พร้อม กู้ให้ผ่าน สร้างเสร็จก็เข้าอยู่ได้เลย แต่ข้อเสีย คือ รูปแบบบ้าน พื้นที่ใช้สอย อาจจะไม่ตรงกับความต้องการทั้งหมด ขณะที่บ้านสร้างเอง มีข้อดี เรื่องรูปแบบบ้าน พื้นที่ใช้สอย ฟังก์ชั่นบ้านที่กำหนดได้ตามความต้องการมากกว่าบ้านจัดสรร แต่ข้อด้อยก็คือ อาจจะยุ่งยากกับขั้นตอนการขออนุญาตต่าง ๆ ตั้งแต่ขออนุญาตก่อสร้างไปจนถึงการขอน้ำไฟ และเลขที่บ้าน ถ้าใช้ผู้รับเหมาทั่วไปในการก่อสร้าง ขั้นตอนเหล่านี้ เจ้าของบ้านต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด แต่ถ้าใช้บริษัทรับสร้างบ้าน ก็มีทั้งบริษัทที่จัดการให้หมดทุกขั้นตอน (เพราะเก็บค่าดำเนินการต่าง ๆ เหล่านี้ไว้รวมกับราคาค่าสร้างบ้านแล้ว) กับบริษัทที่จัดการให้เฉพาะบางขั้นตอนการต่อเติมบ้านกับการขออนุญาตก่อสร้างไม่ใช่แค่เพียงการก่อสร้างบ้านใหม่เท่านั้นที่ต้องมีการขออนุญาตก่อสร้าง แม้แต่การต่อเติมบ้านก็จำเป็นต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้าง โดยการต่อเติมที่เข้าข่ายต้องขออนุญาต คือ การต่อเติมที่เกี่ยวกับโครงสร้างเกินกว่า 5 ตารางเมตร แต่ที่ผ่านมาเจ้าของบ้านหลายรายที่ต่อเติมบ้านเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดก็จะไม่ไปยื่นขออนุญาต และคิดว่าไม่เป็นอะไร ซึ่งมักจะเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งกับเพื่อนบ้านหรือชุมชนใกล้เคียง กรณีที่การต่อเติมที่เกี่ยวกับโครงสร้างเกินกว่า 5 ตารางเมตร ซึ่งต้องขออนุญาตก่อสร้าง ถ้าเจ้าของไม่ไปขออนุญาตให้ถูกต้อง หากเกิดปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับชุมชน เพื่อนบ้านใกล้เคียง จะกลายเป็นความผิดร้ายแรง จึงแนะนำว่า ควรยื่นขออนุญาตให้ถูกต้องตั้งแต่แรก แต่ก็มีการต่อเติมบ้านบางประเภท ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตต่อเติม สรุป 5 กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตต่อเติม
ที่มา: https://www.ddproperty.com/ มีใครเคยทราบบ้างไหมคะว่าพืชประดับบ้านบางชนิด นอกจากจะปลูกเพิ่มความสวยงามและสร้าบรรยากาศสดชื่นภายในบ้านแล้ว มันยังมีคุณสมบัติช่วยคลายร้อนและลดมลพิษในบ้านได้ด้วย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบต้นไม้ประดับหรือพืชพันธุ์สำหรับปลูกไว้ในห้องต่างๆ วันนี้ ในบ้านมี พืช 7 ชนิด ที่เหมาะสำหรับปลูกภายในบ้านมาฝากค่ะ รวบรวมไว้ด้วยพืชหาง่ายอย่างเฟิน ว่านหางจระเข้ หรือไทรย้อยใบแหลม มีคุณสมบัติมากมายทั้งเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ แถมยังช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ด้วย จะมีชนิดไหนน่าสนใจบ้าง ลองไปชมกันเลยครับ ต้นไม้ 7 ชนิดเหมาะปลูกในบ้านช่วยคลายร้อน1. ลิ้นมังกร (Snake plant) ลิ้นมังกรเป็นพืชที่เหมาะสำหรับปลูกไว้ในห้องนอน เพราะในช่วงเวลากลางคืนมันจะปล่อยออกซิเจนออกมาในขณะที่เรานอนหลับ ซึ่งออกซิเจนที่ได้จากลิ้นมังกรจะคอยช่วยให้ขับความเย็นและความสดชื่นไหลเวียนอยู่รอบกายเราตลอดคืน ทำให้เราสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ 2. ว่านหางจระเข้ (Aloe vera) ว่านห่างจระเข้ หนึ่งในพืชที่เป็นยาดีสำหรับร่างกาย อีกทั้งยังช่วยลดอุณภูมิความร้อนภายในห้อง และยังมีประสิทธิภาพในการเพิ่มคุณภาพของอากาศที่อยู่บริเวณนอกอาคาร โดยการปรับเปลี่ยนสารพิษและสารฟอร์มาลดีไฮด์ให้กลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ เหมาะกับสภาพการอยู่อาศัย 3. หมากเหลือง (Areca palm tree) หมากเหลือง เป็นพืชที่คนส่วนใหญ่นิยมนำไปประดับไว้ในห้องนั่งเล่น ซึ่งนอกจากมันจะช่วยเพิ่มสุนทรีย์ระหว่างการพักผ่อนแล้ว มันยังช่วยลดอุณหภูมิภายในห้องและยังมีคุณสมบัติที่สามารถปรับเปลี่ยนอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ 4. เฟินงาม (Boston fern)เฟินงาม พืชสำหรับปลูกในบ้านช่วยเพิ่มความชื้นและปรับให้ห้องอบอวลไปด้วยอากาศบริสุทธิ์จากธรรมชาติ พร้อมประดับเพิ่มความสวยงามและสร้างพื้นที่สีเขียวภายในบ้าน 5. เปปเปอโรเมีย (Baby rubber plant หรือ Peperomia obtusifolia) เปปเปอโรเมีย พืชฤทธิ์เย็นที่ช่วยปรับอุณหภูมิความเย็นภายในห้องได้อย่างเป็นธรรมชาติ นอกเหนือจากการใช้เครื่องปรับอากาศ เป็นพืชที่ไม่ต้องลดน้ำมาก แต่หมั่นใส่ปุ๋ยเป็นประจำเพื่อให้มันเจริญเติบโตได้ดี 6. ไทรย้อยใบแหลม (Ficus tree หรือ weeping fig) เพิ่มบรรยากาศสดชื่นภายในบ้านด้วยต้นไทยย้อยใบแหลม ที่นอกจากจะเป็นตัวช่วยปรับอุณหภูมิความเย็นแล้ว ยังช่วยกำจัดมลพิษทางอากาศ ลดกลิ่นรบกวนและเพิ่มอากาศบริสุทธิ์ในห้องมากขึ้นอีกด้วย 7. พลูด่าง (Golden Pothos) พลูด่างเป็นพืชที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่มากเท่าพืชชนิดอื่น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยมีเวลาทำสวนหรือรดน้ำต้นไม้บ่อยๆ และมันยังมีข้อดีในเรื่องของการปรับให้อากาศบริสุทธิ์มากขึ้นและยังช่วยขจัดสารพิษทางอากาศ เช่น ไซลีน เบนซีน คาร์บอนมอนอกไซด์ ตลอดจนสารฟอร์มาลดีไฮด์ ก่อนถมที่ดินใหม่ ระวังไว้เรื่องกฎหมาย ก่อนคิดจะปลูกบ้านบนที่ดินของตนเอง สิ่งแรกที่จำเป็นจะต้องศึกษาก็คือเรื่องกฎหมายสำหรับการถมที่ดิน ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างบ้าน หากไม่ทำการศึกษาอาจทำให้การถมที่ดินส่งผลกระทบไปสู่ที่ดินข้างเคียงของผู้อื่นให้เสียหายได้ ดังนั้น การถมที่ดินจึงมีข้อบังคับให้อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 จะมีประเด็นหลักที่ต้องดูด้วยกัน 3 ข้อ คือ 1. หากเจ้าของที่ดินจำเป็นต้องทำการขุดดิน โดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร จะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล) และทำการขุดตามแบบที่เจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่นกำหนด 2. หากพื้นที่ที่ขุดดินมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร แต่อยู่ใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุด ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ เพื่อป้องกันดินทลายลงสู่พื้นที่ข้างเคียง 3. การถมที่ดินสูงกว่าพื้นที่ใกล้เคียง หากจะทำการถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ใกล้เคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียง
ป้องกันปัญหาหลังการถมดิน ด้วยการเช็กประวัติที่ดิน สิ่งต่อไปหลังจากรู้กฎหมายเบื้องต้นในการถมที่ดินแล้ว คือตรวจเช็กประวัติที่ดินที่ตัวเองกำลังสนใจหรือถือครองไว้อยู่ ซึ่งในแง่ของคนที่กำลังคิดจะซื้อที่ดินนั้น จำเป็นจะต้องตรวจเช็กประวัติที่ดินนั้น ๆ อยู่แล้วเป็นประเด็นสำคัญ แต่บางคนมีที่ดินเก็บไว้เป็นเวลานานแล้ว ก็ต้องกลับมาตรวจเช็กที่ดินของตัวเองกันใหม่ก่อนจะถมที่ดินหรือสร้างบ้าน เนื่องจากการเอาที่ดินเก่าเก็บมาสร้างบ้านนั้นจะมีปัจจัยของระยะเวลามาเกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาที่ดินของคุณอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม การพังทลายของดินมาก่อน ดังนั้นก่อนที่จะถมดินก็ต้องมาทำความรู้จักที่ดินของตัวเองใหม่ 1. ตรวจสอบประวัติการเกิดอุทกภัย สิ่งแรกที่ควรจะตรวจสอบเลยก็คือประวัติน้ำท่วมบนพื้นที่โดยพิจารณาจากการย้อนไปดูข่าวเก่า หรือสอบถามจากคนพื้นที่ เพื่อเช็กระดับสูงสุดที่น้ำเคยท่วมถึง รวมไปถึงเช็กระดับน้ำในท่อระบายน้ำสาธารณะ โดยติดต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ เพื่อจะประมาณการถมดินให้สูงกว่าระดับดังกล่าว เพื่อป้องกันอุทกภัย และให้น้ำระบายออกมาจากพื้นที่ดินในบ้านได้ 2. เช็กระดับดินพื้นที่ดินบริเวณข้างเคียง และถนนหน้าบ้าน
เพื่อจะได้ทำการถมดินให้สูงกว่า โดยส่วนใหญ่จะมักจะถมให้สูงกว่าถนนหน้าบ้านประมาณ 50-80 ซม. แต่จะอยู่ระดับที่ใกล้เคียงกับที่ดินเพื่อนบ้าน จะไม่นิยมถมที่ดินให้สูงเกินกว่านี้ เนื่องจากพื้นที่ระหว่างที่ดินของบ้านกับถนนสาธารณะจะมีความลาดชันมากเกินไป และอาจเกิดปัญหาน้ำท่วมที่ดินข้างเคียง โดยเฉพาะที่สำคัญการถมที่ดินสูงกว่า 80 ซม. ก็มีค่าใช้จ่ายสูง และอาจเกิดแรงดันจนรั้วบ้านเสียหายได้ ถมที่ดิน อย่าลืมพิจารณาประเภทของดิน การถมที่ดินต้องตกลงกันให้เรียบร้อยว่าจะใช้ดินอะไรในการถม โดยดินมีหลายประเภท ดังนี้ 1. ดินถมทั่วไป ดินทั่วไปที่มีราคาถูกกว่าดินประเภทอื่น จึงได้รับความนิยมมาก เนื้อดินแน่น แต่ความอุดมสมบูรณ์ของดินน้อย ไม่เหมาะกับการนำไปใช้เพาะปลูก 2. ดินดาน มีลักษณะแห้ง บดอัดได้ดี นิยมใช้สำหรับถมที่ดินที่ต้องการปลูกสร้างทันที เช่น การถมพื้นถนน หรือที่ดินริมน้ำ 3. ดินลูกรัง แม้จะเป็นดินที่บดอัดได้ดี แต่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินน้อย ไม่เหมาะกับการนำไปใช้เพาะปลูก 4. ดินทราย แม้จะราคาถูก แต่มีลักษณะไม่อุ้มน้ำ ถูกกัดกร่อนได้ง่าย ต้องมีการป้องกันดินไหล และบดอัดอย่างดี เพื่อป้องกันการทรุดตัวในอนาคต 5. หน้าดิน มีลักษณะร่วนพรุน เนื้อดินค่อนข้างละเอียด ระบายน้ำได้ดี เหมาะกับการถมที่ดินที่ต้องการทำสวน หรือทำสนามหญ้า หลังคา เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งของบ้าน ช่วยกันแดด กันลม กันฝนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ในการสร้างหลังคา ต้องพิถีพิถันทั้งแบบ และวัสดุที่เลือกใช้ การเลือกใช้หลังคาในภูมิอากาศเขตร้อนชื้นอย่างในเมืองไทย มีหลักต้องคำนึงถึงอยู่หลายประการดังต่อไปนี้ 1. หลังคาต้องมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา คือสภาพอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งมีทั้งความร้อนจากแสงอาทิตย์ และความชื้นในอากาศ ดังนั้นการเลือกใช้หลังคา จึงต้องคำนึงถึงความสามารถ ในการป้องกันความร้อน รวมถึงการออกแบบ ระบบการระบายความร้อนใต้หลังคา และการป้องกันความร้อน โดยใช้วัสดุประเภท ฉนวน ที่สามารถป้องกันความร้อนได้ 2. หลังคาต้องมีความสวยงามกลมกลืนกับรูปทรงของบ้าน หลังคาแต่ละประเภทควรมีลักษณะเฉพาะสะท้อนภาพลักษณ์ของเจ้าของบ้านออกมาแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเลือกใช้หลังคาประเภทใดก็ควรดูจาก ลักษณะรูปทรงของบ้าน ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายนอกของบ้านด้วย 3. หลังคาต้องเหมาะสมกับงบประมาณ หลังคาแต่ละชนิดถึงแม้ว่าในเนื้อที่เท่ากัน แต่ราคาค่าก่อสร้างนั้นแตกต่างกัน เนื่องจากความยากง่ายในการก่อสร้างที่แตกต่างกันรวมถึงวัสดุที่ใช้มากน้อยต่างกัน
4. ความแข็งแรงทนทาน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ 5. เป็นวัสดุที่มีความสามารถในการทนไฟ เพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้ 6. เป็นวัสดุที่ไม่เก็บความร้อน และป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ วัสดุโครงหลังคา วัสดุมุงหลังคาชนิดแผ่นกระเบื้อง สามรถแบ่งออกได้เป็น – กระเบื้องดินเผา เป็นวัสดุธรรมชาติใช้เป็นวัสดุมุงหลังคาที่ต้องการโชว์หลังคาเช่น บ้านทรงไทย โบสถ์ วิหารกระเบื้องชนิดนี้ใช้มุงหลังคาที่มีความลาดเอียงมากๆ มิฉะนั้นหลังคามีโอกาสจะรั่วได้ – กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคาชนิดนี้มีความแข็งแรงและสวยงามแต่มีราคาค่อนข้างแพง และมีน้ำหนักมาก ทำให้โครงหลังคาที่จะมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา – กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ มีความสวยงามเพราะผิวกระเบื้องมีความเนียนเรียบ – กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้อง เอสเบสทอสซีเมนต์ กระเบื้องชนิดนี้มีคุณสมบัติกันไฟ และเป็นฉนวนป้องกันความร้อน มีราคาไม่แพง – กระเบื้องลอนคู่ระบายน้ำได้ดีกว่ากระเบื้องลูกฟูกเนื่องจากมีลอนที่ลึกและกว้างกว่า จึงนิยมใช้มุงหลังคามากกว่า เนื่องจากหลังคา เป็นส่วนที่ต้องรับแดด รับฝน จึงต้องมีความทนทาน และต้องเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมกับบ้านแต่ละชนิดอีกด้วย ในช่วงเดือนเมษายนแบบนี้ ถือได้ว่าเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัด เพราะอยู่ในช่วงฤดูร้อน อากาศโดยรวมสำหรับประเทศไทยแล้ว หากร้อนก็จะร้อนมาก ถึงแม้ว่าเราจะอาศัยอยู่ภายในบ้านแบบไม่โดนแสงแดด ก็กลับร้อนแบบตับแตกกันเลยทีเดียว ส่งผลทำให้หลายต่อหลายคน กลับไม่อยากที่จะอยู่ในบ้านหากไม่มีเครื่องปรับอากาศคอยช่วยเหลือ เนื่องจากบ้านที่เราอาศัยอยู่ส่วนใหญ่ มีอุณหภูมิที่ร้อนมากกว่าผิดปกติ จนกระทั่งอยู่ไม่ได้นั่นเอง แต่ถ้าเราสามารถออกแบบให้บ้านของเรานั้น เป็นบ้านที่เย็นสบาย สามารถชนะอากาศที่ร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน และสามารถเข้ากับทุกฤดูกาลได้ คงเป็นเรื่องที่ดีอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นวันนี้ เราจึงขอนำเสนอ 8 เทคนิคการเลือกบ้าน ช่วยให้อยู่แล้วไม่ร้อน ส่วนจะมีเทคนิคในรูปแบบไหนบ้างนั้น เราไปดูกันเลย 8 เทคนิคเลือกบ้านที่ช่วยให้อยู่แล้วไม่ร้อน 1.ดูทิศทางของบ้าน ถ้าหากคุณต้องการให้บ้านของคุณนั้นเย็นสบายตลอดทุกฤดู โดยเฉพาะสร้างความเย็นในช่วงฤดูร้อนได้นั้น คุณควรเริ่มต้นที่จะออกแบบบ้าน โดยการวางตัวบ้านให้ขวางทางกับทางด้านทิศเหนือและใต้ ซึ่งการวางบ้านในทิศทางนี้ จะช่วยทำให้ผนังและหลังคาบ้าน ได้รับความร้อนที่น้อยกว่าการออกแบบบ้านให้ตั้งอยู่ในทิศทางอื่น ๆ รับรองเลยว่าถ้าอยู่ในทิศทางนี้ บ้านของคุณจะเย็นสบายขึ้นมาทันทีอย่างแน่นอน 2.เลือกบ้านที่ใช้อิฐมวลเบาก่อสร้างผนังบ้าน การเลือกใช้อิฐมวลเบาในการก่อสร้างผนังบ้าน หรือแม้กระทั่งก่อผนังในรูปแบบสองชั้น จะสามารถช่วยป้องกันความร้อนที่อาจจะสะสมอยู่ภายในตัวบ้าน หรือถ้าใครสนใจอยากจะใช้ฉนวนกันความร้อนที่ผนังบ้าน ก็สามารถช่วยป้องกันความร้อนได้เช่นกันค่ะ 3.เลือกบ้านที่ติดตั้งฝ้าชายคา อากาศร้อนภายในบ้านที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งจะสะสมอยู่ภายใต้หลังคาบ้าน และมักจะระบายออกที่ชายคารอบบ้านของคุณ เพราะฉะนั้น การติดตั้งฝ้าชายคาบ้าน โดยใช้ฝ้าตราช้าง จะส่งผลทำให้ความร้อนที่มีอยู่ในตัวบ้านออกไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น 4.เลือกบ้านที่ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนไว้ใต้หลังคา ความร้อนส่วนใหญ่ มักจะเข้าสู่ตัวบ้านทางด้านหลังคามากที่สุด เพราะฉะนั้นทางที่ดี คุณควรติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนที่ใต้หลังคาเป็นหลัก จะช่วยทำให้บ้านของคุณเย็นสบายได้ว่าที่เคยอย่างแน่นอน 5.เลือกสีของหลังคาบ้าน
สีของหลังคาบ้าน ย่อมมีผลต่อระดับความร้อนภายในตัวบ้านเช่นกัน เพราะฉะนั้น สีของหลังคาบ้าน ควรทาให้เป็นสีอ่อนมากกว่าสีเข้ม และที่สำคัญ ควรออกแบบที่จะวางหลังคาบ้านให้มีความลาดชัน โดยไม่เกิน 45 องศา เพื่อที่จะสามารถช่วยบังแดด ให้กับหลังคาอีกด้านของบ้านได้ด้วยนั่นเอง 6.ติดผนังด้านให้มีแผงกันแดดหรือระแนงไม้ สำหรับผนังบ้านที่อยู่ด้านทิศตะวันตก มักจะได้รับความร้อนมากที่สุด เพราะฉะนั้น ควรออกแบบผนังด้านของบ้าน ให้มีแผงกันแดดหรือระแนงไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนของแสงแดด ได้เข้ามากกระทบกับผนังบ้านโดยตรง 7.ปลูกต้นไม้ทรงพุ่มสูงทางด้านทิศตะวันตก การปลูกต้นไม้ทางด้านทิศตะวันตก จะสามารถช่วยป้องกันแสงแดดไม่ให้กระทบกับตัวบ้าน ถือได้ว่าเป็นการลดอุณหภูมิของบ้านด้วยการเพิ่มร่มเงาของต้นไม้โดยตรง 8.เลือกบ้านที่สามารถให้ลมหมุนเวียนในบ้านได้ ในแต่ละห้องภายในบ้าน ควรมีหน้าต่างอย่างน้อยสองด้านเป็นหลัก เพื่อให้ลมที่ผ่านเข้ามานั้นมีทางออก เปรียบเสมือนเป็นการออกแบบบ้าน เพื่อให้ลมหมุนเวียนในบ้านได้นั่นเอง และที่สำคัญอย่างติดตั้งเฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งของต่าง ๆ บังทิศทางของลมนะครับ แม้ว่า สมัยนี้เราจะติดตั้งแอร์ ได้ แต่หากการได้บ้านที่อยู่แล้วเย็นสบาย จากเทคนิคการดูบ้าน 8 ข้อที่แนะนำนี้ ตั้งแต่ก่อนตัดสินใจซื้อบ้าน ไม่แน่ก็อาจจะช่วยคุณประหยัดค่าไฟฟ้าได้บ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ การสร้างบ้านในทุกวันนี้ นอกจากจะต้องคำนึงถึงทำเลและราคาแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ ฮวงจุ้ย การดูฮวงจุ้ยนอกจากจะดูจากรูปทรงของบ้านแล้ว หลังคาบ้านก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ควรออกแบบให้ตรงตามฮวงจุ้ยเช่นกัน เพราะเชื่อว่าหากมีหลังคาบ้านที่ดีถูกหลักฮวงจุ้ย ก็จะส่งผลให้บ้านนั้นอยู่แล้วร่มรื่นปลอดภัย ตามหลักฮวงจุ้ย หลังคาบ้านแบบไหนใช่เลย หลังคาบ้านเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันแดด ลม และฝน นอกจากจะช่วยปกป้องตัวบ้านได้แล้ว ยังช่วยเสริมความเป็นมงคลให้กับเจ้าของบ้านได้อีกด้วย หากเลือกหลังคาบ้านให้ถูกต้องตามหลักฮวงจุ้ย ซึ่งหลังคาบ้านนั้นมีหลากหลายรูปทรง แต่รูปทรงไหนดีหรือไม่ดี วันนี้ ปัญญาฤทธิ์โฮม จะชวนคุณมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน หลังคาบ้านทรงจั่ว ในทางฮวงจุ้ย หลังคาทรงจั่วหรือทรงสามเหลี่ยมนั้นถือเป็นสิ่งไม่ดี เพราะหน้าจั่วเปรียบเสมือนลูกศรที่แหลมคม ส่งผลให้คนในบ้านบาดเจ็บหรือสูญเสียทรัพย์สินได้ หลังคาบ้านทรงสี่เหลี่ยมตัด หลังคาทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงตึก มีลักษณะเป็นหลังคาตัด ในทางฮวงจุ้ยนับว่าไม่ดีนัก เพราะเชื่อว่าจะทำให้เก็บทรัพย์ไม่ได้ หลังคาบ้านทรงปั้นหยา ลักษณะของหลังคาชนิดนี้ คือ มีลักษณะเฉียง 4 ด้าน ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างทั้ง 2 ข้าง มีระยะยื่นชายคาเท่ากันทั้ง 4 ด้าน ทางฮวงจุ้ยถือว่าเป็นรูปทรงหลังคาที่ดี เพราะช่วยเก็บทรัพย์ นอกจากจะดีในทางฮวงจุ้ยแล้วหลังคาบ้านทรงนี้ยังช่วยป้องกันแสงแดดและฝนได้จากทุกด้านของบ้านอีกด้วย สีหลังคามงคลตามวันเกิด หลังคาบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ยนั้น นอกจากจะเลือกจากทรงของหลังคาบ้านแล้ว การเลือกสีของหลังคาบ้านก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ควรเลือกสีให้ถูกโฉลกกับเจ้าของบ้าน เพื่อเสริมความเป็นมงคล และเพิ่มอำนาจบารมีให้กับเจ้าของบ้านยิ่งขึ้นไป
สีกาลกิณี : ฟ้า น้ำเงิน
สีกาลกิณี : แดง
สีกาลกิณี : เหลือง
สีกาลกิณี : ชมพู
สีกาลกิณี : ม่วง น้ำเงิน
สีกาลกิณี : เทา ม่วง
สีกาลกิณี : เขียว แสด การออกแบบหลังคาบ้าน หากออกแบบให้ถูกต้องตามฮวงจุ้ยแล้ว เชื่อว่าเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยจะพบเจอแต่สิ่งที่ดี ไม่เจอกับปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ ดังนั้นการออกแบบบ้าน นอกจากจะคำนึงถึงเรื่องความตอบโจทย์ในการใช้งานแล้ว ควรคำนึงถึงหลักฮวงจุ้ยด้วย เพราะจะได้ทั้งประโยชน์และเป็นมงคลแก่เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย การจำนอง คือ การที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตนเช่นที่ดิน หรือ ทรัพย์สินที่กฏหมายอนุญาตให้จำนองไปจดทะเบียนไว้กับอีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบ ที่ดิน หรือ ทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง ปัจจุบันมีผู้รับจำนองค่อนข้างมาก ทั้งจากธนาคารและนิติบุคคล ข้อดีของการนำทรัพย์สินไปจำนองที่ธนาคารก็คือมักจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่า จำนองกับนิติบุคคล แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการดำเนินการมากกว่าเล็กน้อย อัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารมักแตกต่างกันออกไป ปัจจัยขึ้นอยู่กับ ประเภทของทรัพย์สิน มูลค่า ราคาประเมิน และจำนวนเงินที่ผู้จำนองต้องการกู้ยืม ขั้นตอนในการขอสินเชื่อหรือการทำธุรกรรมจำนอง
3. ประเมินราคาหลักประกัน หลังจากธนาคารอนุมัติเบื้องต้น ก็จะส่งทีมประเมินราคาไปประเมินราคาหลักทรัพย์ของท่านว่ามีมูลค่าเท่าไร 4. ธนาคารอนุมัติพร้อมแจ้งวงเงินสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ย สำหรับขั้นตอนนี้ ท่านจะได้ทราบว่าวงเงินที่ท่านต้องการ ทางธนาคารสามารถให้ท่านได้เท่าไร อัตราดอกเบี้ย รวมถึงระยะเวลาในการผ่อนชำระ 5. เซ็นสัญญากับธนาคารและสัญญาจำนอง กรณีทุกอย่างเป็นไปตามที่ท่านต้องการ ทางธนาคารจะทำการนัดวันทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน ข้อควรรู้
ในบทความนี้ ไทย บีโอคิว ได้รวบรวม 10 ต้นไม้ปลูกหน้าบ้าน ที่ไม่ต้องรดน้ำต้นไม้บ่อย ให้ได้นำมาปลูกกัน ช่วยเพิ่มความร่มรื่น และช่วยเพิ่มความสิริมงคล รวม 10 ต้นไม้ปลูกหน้าบ้าน ที่ไม่ต้องรดน้ำต้นไม้บ่อย ช่วยสร้างความร่มลื่นให้บ้าน โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการดูแล มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง การปลูกต้นไม้เป็นการสร้างบรรยากาศทั้งใน และนอกบ้านให้ดูร่มรื่นขึ้น รวมไปถึงช่วยเพิ่มความน่าอยู่ให้บ้านเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นต้นไม้ยังมีความหมายแฝงในแง่ของดวงชะตา และโชคลาภให้แก่ผู้อยู่อาศัย ทำให้การตกแต่งบ้านด้วยต้นไม้เป็นอีกไอเดียที่หลายบ้านมักนำไปใช้กัน ในบทความนี้ ไทย บีโอคิว ได้รวบรวม 10 ต้นไม้ปลูกหน้าบ้าน ที่ไม่ต้องรดน้ำต้นไม้บ่อย ให้ได้นำมาปลูกกัน ช่วยเพิ่มความร่มรื่น และช่วยเพิ่มความสิริมงคลให้กับบ้าน 10 ต้นไม้ปลูกหน้าบ้าน ดูแลง่าย ไม่ต้องรดน้ำต้นไม้บ่อย 1. ต้นราชพฤกษ์หรือต้นคูณ ต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูณ เป็นต้นไม้มงคลที่นิยมปลูกหน้าบ้าน ถือเป็นอีกหนึ่งดอกไม้ประจำประเทศไทย เพราะถือเป็นไม้มงคล ศักดิ์สิทธิ์ มีความหมายดี และสามารถเลี้ยงไว้เพื่อเสริมดวงชะตาให้กับเจ้าของบ้านได้ในหลากหลายด้าน นอกจากนั้นต้นราชพฤกษ์ยังไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย โดยรดน้ำเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เท่านั้น ต้นราชพฤกษ์จะมีลักษณะออกดอกเป็นพุ่ม สีเหลืองอร่าม มักถูกนำไปใช้ในพิธีสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น พิธีทำเสาหลักเมือง พิธีวางศิลาฤกษ์ หรือการทำเป็นน้ำมนต์ เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าช่วยสะเดาะเคราะห์ เสริมให้ชีวิตมีความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน และยังช่วยปัดเป่าสิ่งเลวร้าย 2. ต้นกระบองเพชร ต้นกระบองเพชร หนึ่งในต้นไม้ที่ผู้คนส่วนใหญ่เลือกปลูกกัน เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งต้นไม้มงคลที่ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อย ไม่ว่าจะในบริเวณบ้าน หรือจะปลูกขนาดใหญ่ไว้หน้าบ้านก็ได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังสามารถดูแลได้ง่าย เพราะรดน้ำเพียงสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เท่านั้น สำหรับต้นกระบองเพชร จะมีทั้งแบบที่ออกดอกได้ และไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วต้นกระบองเพชรที่สามารถออกดอกได้มักจะได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากมีความเชื่อว่าหากต้นกระบองเพชรออกดอกได้ จะทำให้มีโชคลาภเกี่ยวกับเงินทอง 3. ต้นทับทิม ต้นทับทิม หรืออัญมณีแห่งผลไม้ เนื่องจากผลของมันเป็นสีแดงฉ่ำอิ่มน้ำคล้ายกับอัญมณีเม็ดงาม ถือว่าเป็นอีกหนึ่งต้นไม้มงคลปลูกหน้าบ้านที่ช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากชีวิตของผู้ปลูก และยังช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลกันอีกด้วย ซึ่งการดูแลเพียงแค่รดน้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เท่านั้น ลักษณะของต้นทับทิมจะออกผลเป็นทับทิมที่เป็นสีแดง ซึ่งผลทับทิมก็จะมีประโยชน์หลากหลาย ไม่ว่าจะบำรุงรากฟัน และช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย โดยต้นทับทิมจะเหมาะกับบ้านที่พื้นที่หน้าบ้านโล่ง หรือมีลานกว้าง 4. ต้นมั่งมี ต้นมั่งมี ให้ร่มเงากับตัวบ้าน ใบร่วงน้อย ไม่ต้องเก็บกวาดบ่อย ๆ แล้ว ยังเสริมมงคลด้านโชคลาภ แถมมีประโยชน์มากมาย ทำให้หลายคนนิยมนำมาปลูกไว้ที่สวนหน้าบ้าน นอกจากนั้นไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อย เพียงอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง โดยต้นมั่งมี จะมีเนื้อไม้มีลายสวยงาม และแข็งแรง นอกจากนั้นต้นมั่งมียังเชื่อว่าเป็นต้นไม้เสริมมงคล เมื่อปลูกแล้วจะช่วยเสริมบารมี และนำความมั่งมีด้านการเงินมาให้ 5. ต้นอโศกอินเดีย |
AuthorArchivesCategories
All
บทความแนะนำ |