ใครอยากปลูกเรือนไทยฟังทางนี้ ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมากระแสการปลูก “เรือนไทย” เป็นที่นิยมในหมู่ของคนไทย และชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยในเมืองไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะวิธีรื้อเรือนไทยเดิมมาปลูกใหม่ หรือวิธีปรุงเรือนไทยเดิมขึ้นมาใหม่หมดทั้งหลังตามแบบโบราณ รวมถึงการออกแบบเรือนไทยประยุกต์ที่ใช้โครงสร้างและวัสดุสมัยใหม่มาดีไซน์ในแนวความคิดของเรือนไทย แม้ปัจจุบันสถาปนิกทั่วไปจะสามารถออกแบบเรือนไทยได้ เนื่องจากหลายสถาบันได้บรรจุหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรมไทยในวิชาเรียนด้วย บางแห่งก็ผลิตสถาปนิกสาขาสถาปัตยกรรมไทยโดยตรง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่การจะหาช่างหรือสถาปนิกปรุงเรือนไทยแบบเดิมที่มีฝีมือจริงๆค่อนข้างยาก (เดิมช่างปรุงเรือนไทยมักเป็นสถาปนิกไปในตัว)เนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือของช่างปรุงเรือนไทยโดยเฉพาะ และเป็นศิลปะที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ คนส่วนใหญ่จึงมักไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรเมื่ออยากได้เรือนไทยเดิมสักหลัง ในคอลัมน์นี้ผมจึงอยากจะขอเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีว่าจ้างช่างปรุงเรือนไทย รวมไปถึงองค์ประกอบของตัวเรือนไทยว่ามีกี่แบบบ้าง เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจให้ผู้ที่กำลังมองหาและอยากปลูกเรือนไทยได้เข้าใจเรือนไทยสถาปัตยกรรมประจำชาติของเรามากขึ้น แกะรอย 1. อย่างแรกเราต้องตอบโจทย์ความต้องการของเราก่อนว่าอยากได้พื้นที่ใช้สอยอะไรบ้าง เพราะนั่นจะทำให้เราทราบว่าบ้านหลังนี้จะต้องปรุงเรือนทั้งหมดกี่หลัง แต่ละหลังมีขนาดเท่าไหร่ หากเราต้องการพื้นที่ห้องกว้างมาก บ้านเราอาจจำเป็นต้องใช้เรือนแฝดมาปรุงด้วย พื้นที่ที่ต้องเพิ่มเติมนอกเหนือจากเรือนไทยเดิมนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เช่น ห้องน้ำ ส่วนอาบน้ำ ครัวสมัยใหม่ หรือพื้นที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เมื่อเราตอบประเด็นเหล่านี้ได้ก็จะทราบงบประมาณคร่าวๆในการปลูกเรือนไทย ซึ่งโจทย์เหล่านี้จะต้องนำมาพิจารณาร่วมกับขนาดที่ดินที่เรามีด้วย ว่าสามารถปลูกเรือนอย่างที่เราต้องการได้หรือไม่ ในส่วนนี้อาจขอคำปรึกษาจากสถาปนิก เพื่อวางแผนการออกแบบคร่าวๆ ก่อนนำมาจัดผังบริเวณและวางตำแหน่งเรือนแต่ละหลังบนที่ดิน กำลังดี ที่ดิน 100 ตารางวา เป็นขนาดที่สามารถปลูกเรือนไทย 1 หลังได้ขนาดสวยงามกำลังดี แต่ถ้าขนาดที่ดินใหญ่กว่านั้นก็จะยิ่งสามารถปรับปรุงภูมิทัศน์และจัดสวนเพิ่มความร่มรื่นให้เรือนไทยของเรามีบรรยากาศน่าอยู่ได้มากขึ้น แต่ขนาดที่ดินไม่ควรจะน้อยกว่า 50 ตารางวา เพราะจะทำให้เวลาอยู่อาศัยแล้วรู้สึกอุดอู้ เนื่องจากพื้นที่ชานและใต้ถุนภายนอกเป็นส่วนใช้งานหลักของเรือนไทย 2. ขั้นต่อมาคือการติดต่อหาช่างปรุงเรือนไทย ซึ่งสามารถหาช่างฝีมือได้แถวจังหวัดอยุธยา สุพรรณบุรี อ่างทอง สมุทรสงคราม ซึ่งมีอยู่หลายเจ้า ถูกชะตาเจ้าไหนก็ลองแวะเข้าไปชม แล้วอย่าลืมขอดูผลงานเก่าๆจากช่างว่าถูกใจเราหรือไม่ ก่อนจะตัดสินใจว่าจ้าง เพราะแต่ละแห่งจะมีสูตรในการปรุงเรือนแตกต่างกันไป การปรุงเรือนไทยใหม่ คือ การปรุงเรือนไทยเดิมใหม่ทั้งหลัง อาจจะใช้ไม้เก่าหรือไม้ใหม่ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว ซึ่งราคาไม่แตกต่างกันมาก บางคนคิดว่าไม้เก่าดีเพราะเป็นไม้แห้ง เนื่องจากผ่านการใช้งานมาแล้ว เมื่อนำมาปลูกการยืดหดตัวจะไม่มากเหมือนนำไม้ใหม่มาสร้าง อีกทั้งยังมีสีสันที่ดูคลาสสิก แต่ช่างบางคนกลับบอกว่าไม้ใหม่ดีกว่าเพราะหากผ่านการอบอย่างดีก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการยืดหด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละคนครับ หากเราจ้างให้ช่างปรุงเรือนไทยพร้อมกับให้ช่างรับผิดชอบหาไม้มาด้วยเลย ซึ่งราคาค่าปรุงเรือน 3 ห้อง (1 หลัง) จะอยู่ประมาณระหว่าง 1,200,000 -1,600,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้และวัสดุมุงหลังคาด้วย ดังนั้นถ้าเราต้องการปลูกเรือนไทยสัก 3 หลังราคาค่าก่อสร้างโดยเฉลี่ยก็จะประมาณ 3,600,00 -4,700,000 บาท ส่วนศาลา ซุ้ม หรือหอนก ขนาด 3 เมตร ราคาค่าก่อสร้างโดยประมาณ 40,000-50,000 บาท หรือคิดเป็นพื้นที่ต่อตารางเมตรจะอยู่ราคาประมาณ 30,000 บาทต่อตารางเมตร ในกรณีที่เราสามารถหาไม้ได้เอง จะให้ช่างมาช่วยปรุงอย่างเดียว ราคาค่าแรงในการปรุงเรือนไทย 1 หลัง ( 3 ห้อง) จะอยู่ประมาณ 200,000-400,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดเรือน มาตราวัดที่ควรรู้ สำหรับคนไม่คุ้นเคยกับมาตราวัดความยาวแบบสมัยโบราณ เมื่ออยากจะปลูกเรือนไทยควรจะรู้หน่วยวัดเหล่านี้ไว้สักนิดนะครับ เพราะช่างปรุงเรือนไทยส่วนใหญ่เวลาคุยแบบแล้วมักจะใช้หน่วยวัดที่เราไม่ค่อยคุ้นหู เช่น เรือนขนาดกว้าง 7 ศอก คือ เรือนที่มีด้านสกัด (ด้านแคบเรือนไทย) กว้าง 3.50 เมตร (1 ศอก เท่ากับ 50 เซนติเมตร) เป็นต้น 4 กระเบียด เป็น 1 นิ้ว 12 นิ้ว เป็น 1 คืบ 2 คืบ เป็น 1 ศอก 4 ศอก เป็น 1 วา 1 วา เป็น 2 เมตร – การซื้อเรือนไทยเก่ามาปรุงใหม่ ส่วนใครที่เกิดติดใจกับเสน่ห์ไม้เก่า อยากซื้อเรือนไทยเดิมของชาวบ้านเพื่อถอดย้ายมาปรุงใหม่ ก็ลองติดต่อช่างให้ช่วยถามเจ้าของเรือนในละแวกนั้น ว่ามีใครประสงค์อยากจะขายเรือนไทยหรือเปล่า เมื่อมีคนสนใจขายเราก็เข้าไปเช็คสภาพและขนาดเรือนว่าตรงกับที่เราต้องการหรือไม่ มีส่วนไหนที่ต้องซ่อมแซมบ้าง เราควรคำนวณค่าใช้จ่ายส่วนนี้รวมกับงบประมาณด้วย เพราะบางครั้งราคาเรือนเก่ารวมกับค่าซ่อมแซมเรือนอาจสูงกว่าการปรุงเรือนใหม่ก็ได้ เพราะเรือนเก่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนด้วย ซึ่งการปลูกเรือนไทยด้วยไม้ใหม่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ อีกทั้งชิ้นส่วนบางชิ้นอาจชำรุดมากจนไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ เมื่อพอใจก็ตกลงราคากับเจ้าของบ้าน บางครั้งอาจหาซื้อได้ในราคาไม่แพงนัก ตรงนี้ขึ้นกับวิธีเจรจาและวาสนาของแต่ละคนครับ *ราคาเรือนไทยเก่าหนึ่งหลังตกประมาณ 700,000-900,000 บาท แปรผันตามสภาพของเรือนไทยด้วย *ค่ารื้อถอนประมาณ 200,000-300,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน *ส่วนค่าขนย้ายนั้นขึ้นอยู่กับระยะทาง *ค่าปรุงเรือนไทยหลังหนึ่งรวมค่ารื้อถอนด้วยราคาประมาณ 600,000 – 700,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน ราคาค่าก่อสร้างส่วนต่างๆของเรือนไทยแบบแยกชิ้นโดยประมาณ ปั้นลมไม้สัก ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาทต่อ 1 ชิ้น หน้าจั่วไม้สัก ราคาประมาณ 30,000-40,000 บาทต่อ 1 จั่ว เสาไม้เต็ง เสาไม้แดง สูง 8เมตร ราคาประมาณ 3,500 -4,000 บาท แผ่นฝาไม้สักที่ประกอบพร้อมปรุง ราคาประมาณ15,000-20,000 ต่อฝา 1 แผ่น หมายเหตุ ราคานี้สอบถามจาก คุณสม เขียวประจบ ช่างปรุงเรือนไทยชาวพระนครศรีอยุธยา แต่ละเจ้าอาจมีราคาแตกต่างกันไป “ส่วนใหญ่การรื้อเรือนไทยเก่ามาปรุงใหม่มักจะมีปัญหาเรื่องการรั่วซึมน้ำที่ฝาเรือน เพราะเมืองไทยมีทั้งฤดูร้อนและฝนชุก ทำให้ฝาผุง่าย อีกทั้งโครงสร้างต่างๆก็เก่าอาจนำมาใช้ใหม่ลำบาก แต่หลายคนมักคิดว่าซื้อเรือนเก่ามาปลูกใหม่เป็นเรื่องดี แต่ผมคิดว่าการปรุงเรือนไทยด้วยไม้ใหม่จะเหมาะกว่า อีกทั้งการทำฝาด้วยไม้ใหม่ยังสามารถอุดกาว เพื่อป้องกันแอร์รั่วได้ง่ายกว่าดัวย”ส.บุญมีฤทธิ์ ช่างปรุงเรือนไทย 3. หลังจากเราหาช่างปรุงเรือนไทยหรือซื้อเรือนไทยเก่ามาครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ส่วนใหญ่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมโครงสร้างของเรือนไทยบางส่วน เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันได้ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ เช่น ดัดแปลงชานไม้เป็นชานคอนกรีตปูกระเบื้องดินเผาเพื่อให้ทำความสะอาดง่ายขึ้น ดัดแปลงใต้ถุนเป็นพื้นที่ใช้สอยอื่นๆ เช่น ห้องเก็บของ ห้องนั่งเล่น ห้องแม่บ้าน เพิ่มหน้าต่างกระจกเพื่อให้สามารถติดเครื่องปรับอากาศได้ เพิ่มบันไดใต้ชายคาที่สามารถขึ้นจากใต้ถุนขณะฝนตกแล้วไม่เปียก และงานระบบต่างๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบประปา สิ่งเหล่านี้เราต้องวางแผนไว้ก่อนล่วงหน้าว่าจะทำอย่างไรให้วัสดุที่เราเลือกเข้ากับบรรยากาศกับเรือนไทยด้วย เพื่อให้ส่วนต่อเติมใหม่ไม่ดูขัดเขินเมื่อมาอยู่กับเรือนไทยเดิมที่สร้างจากไม้ทั้งหลัง ถอดทีละชิ้น เนื่องจากเรือนไทยเป็นเรือนถอดประกอบได้ (PREFABRICATION) และยังมีขนาดและสัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐาน ดังนั้นสมัยก่อนครู หรือ ช่างวัฒกี (ช่างไม้) จะปรุงชิ้นส่วนต่างๆแต่ละส่วนตามหลักและแบบแผนเดียวกันหมด เหมือนการผลิตวัสดุสำเร็จรูปจากโรงงาน ทำให้บ้านไหนที่ต้องการปลูกบ้านเร่งด่วน ก็สามารถหยิบยืมวัสดุจากบ้านอีกหลังหนึ่งที่ไม่เร่งสร้างไปใช้ก่อนได้ ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจและมองเห็นภาพองค์ประกอบต่างๆของเรือนไทยได้ชัดเจนมากขึ้น ผมจึงขอแยกส่วนเครื่องปรุงเหล่านี้ว่ามีกี่แบบบ้าง แต่ละแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้ผู้ที่คิดจะปลูกเรือนไทยได้เอาไว้ใช้พิจารณาดู ว่าเราอยากให้เรือนไทยของเรามีหน้าตาแบบไหนครับ สัดส่วนเรือนไทยเดิมด้านสกัด เรือนไทยนั้นมีสัดส่วนที่ตายตัว การวัดขนาดเรือนจะวัดทางด้านสกัดหรือด้านแคบ ตัวอย่างเช่น หากเรือนไทยที่มีด้านสกัดขนาด5 ศอก ความสูงจากพื้นดินถึงพื้นเรือนควรจะสูงประมาณ 4 ศอก และจากพื้นเรือนถึงขื่อควรสูงประมาณ 5 ศอก เพื่อให้ได้สัดส่วนที่สวยงาม สัดส่วนที่สวยงาม ความกว้างด้านสกัดหรือด้านแคบของเรือนไทยเดิมนั้น ปกติจะกว้างประมาณ 3 -4 เมตร ที่พบเห็นส่วนใหญ่จะกว้างประมาณ 3.50 เมตร แต่ที่เหมาะกับบ้านในสมัยนี้ คือ 4 เมตร เพราะสามารถจัดเฟอร์นิเจอร์ภายในห้องได้ง่ายนั่นเองครับ บ้านเรือนไทย 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ถือเป็นอีกหนึ่งแบบบ้านที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากการออกแบบที่สวยงาม โดดเด่น เรือนไทย 4 ภาคส่วนใหญ่ มักออกแบบแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ โดยเน้นที่ความสะดวกสบาย และประโยชน์ใช้สอย โดยการปลูกบ้านเรือนไทยในประเทศไทยมีลักษณะอย่างไรวันนี้ตามจระเข้ไปดูกัน ภาพ: บ้านเรือนไทย ก่อนจะทำความรู้จักกับเรือนไทย 4 ภาค เรามาดูจุดเด่นของบ้านเรือนไทยก่อนว่ามีอะไรบ้าง จุดเด่นของบ้านเรือนไทย |
AuthorTHAI BOQ ArchivesCategories
All
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
|