หลักเกณฑ์การถอดแบบหาปริมาณวัสดุเพื่อคำนวณราคากลาง
1.งานขุดดินฐานรากและถมดิน คิดเผื่อกันดินพังและทำงานสะดวก 30%
2. งานวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับ คิดเผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดด้วยแรงคน 2.1 งานถมทราย เผื่อ 25% 2.2 งานถมดิน เผื่อ 30% 2.3 งานถมลูกรัง เผื่อ 35% 2.4 งานถมอิฐหัก เผื่อ 25% 3.งานไม้แบบหล่อคอนกรีต 3.1 ไม้แบบหนา 1" เนื้อที่ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ปริมาตรประมาณ 1 ลูกบาศก์ฟุต 3.2 ไม้เคร่ายึดไม้แบบ คิด 30% ของปริมาณไม้แบบ 3.3 ไม้ค้ำยันไม้แบบ 3.3.1 ไม้ค้ำยันท้องคานและงานประเภทคานคิด 1 ตัน/ความยาว 1 เมตร 3.3.2 ไม้ค้ำยันท้องพื้นและงานประเภทพื้นคิด 1 ตัน/ตารางเมตร 4. การลดปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีต เนื่องจากใช้งานได้หลายครั้ง 4.1 อาคารชั้นเดียว ลด 20% ใช้ 80% 4.2 อาคาร 2 ชั้น ลด 30% ใช้ 70% 4.3 อาคาร 3 ชั้น ลด 40% ใช้ 60% 4.4 อาคาร 4 ชั้นขึ้นไป ลด 50% ใช้ 50% การลดปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีต ลดลงเฉพาะปริมาณวัตถุไม้แบบเคร่า ยึดไม้แบบและไม้ค้ำยัน ส่วนค่าแรงคิดเต็มปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีตทั้งหมด 5. การเผื่อเหล็กเสริม เนื่องจากต้องทบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเสียเศษใช้งานไม่ได้ของเหล็กเสริมแต่ละขนาดทั้งเหล็กเส้นกลมผิวเรียบและเหล็กเส้นกรมผิวข้ออ้อยตามเกณฑ์ ดังนี้ เหล็กเสริม เหล็กเสริมขนาด 6 มม. เผื่อ 5% 9 มม. เผื่อ 7% 10 มม. เผื่อ 7% 12 มม. เผื่อ 9% 15 มม. เผื่อ 11% 16 มม. เผื่อ 11% 19 มม. เผื่อ 13% 20 มม. เผื่อ 13% 22 มม. เผื่อ 14% 25 มม. เผื่อ 15% 28 มม. เผื่อ 15% 6. ลวดผูกเหล็กเสริม คิด 30 กิโลกรัม/เหล็กเสริม 1 เมตริกตัน 7. ปริมาณตะปูของงานประเภทต่าง ๆ 7.1 งานวางคาน ตง และปูพื้นไม้ ใช้ 0.20 กก./ตารางเมตร 7.2 งานติดตั้งโครงหลังคาไม้ 7.2.1 ทรงเพิงแหงน ใช้ 0.20 กก./ตารางเมตร 7.2.2 ทรงจั่ว ใช้ 0.20 กก./ตารางเมตร 7.2.3 ทรงปั้นหยา ใช้ 0.25 กก./ตารางเมตร 7.2.4 ทรงไทย ใช้ 0.30 กก./ตารางเมตร 8. ปริมาณวัสดุมวลรวมของคอนกรีตส่วนผสมต่าง ๆ (เผื่อเสียหายแล้ว) 8.1 คอนกรีตส่วนผสม 1:3:5 (คอนกรีตหยาบ) - ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ 252 กก. - ทรายหยาบ 0.62 ลูกบาศก์เมตร - หิน 1-2 0.97 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 180 ลิตร 8.2 คอนกรีตส่วนผสม 1:2:4 - ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ 336 กก. - ทรายหยาบ 0.54 ลูกบาศก์เมตร - หิน 1-2 1.03 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 180 ลิตร คอนกรีตตามมาตรฐานกรมโยธาธิการ คอนกรีต ค.1 (STRENGTH) 180 กก./ตารางเซนติเมตร - ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ 304 กก. - ทรายหยาบ 0.43 ลูกบาศก์เมตร - หิน 1-2 0.85 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 180 ลิตร คอนกรีต ค.2 (STRENGTH) 240 กก./ตารางเซนติเมตร - ปูนซีเมนต์ปอรต์แลนด์ 336 กก. - ทรายหยาบ 0.60 ลูกบาศก์เมตร - หิน 1-2 1.09 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 180 ลิตร คอนกรีต ค.3 (STRENGTH) 300 กก./ตารางเซนติเมตร - ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ 367 กก. - ทรายหยาบ 0.66 ลูกบาศก์เมตร - หิน 1-2 0.92 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 180 ลิตร คอนกรีต ค.4 (STRENGTH) 350 กก./ตารางเซนติเมตร - ปูนซีเมนต์พอร์ตแลนด์ 420 กก. - ทรายหยาบ 0.50 ลูกบาศก์เมตร - หิน 1-2 0.98 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 180 ลิตร หมายเหตุ คอนกรีต 1 ลูกบาศก์เมตร ใช้น้ำผสมประมาณ 180 ลิตร ปริมาณวัสดุนี้ เผื่อการเสียหายแล้ว 9.ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานผนังก่อด้วยวัสดุชนิดต่าง ๆ 9.1 ผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่น (1 ตารางเมตร) - อิฐมอญ 138 แผ่น - ปูนซีเมนต์ผสม 16 กก. - ปูนขาว 10.29 กก. - ทรายหยาบ 0.05 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 10 ลิตร 9.2 ผนังก่ออิฐเต็มแผ่น (1 ตารางเมตร) - อิฐมอญ 276 แผ่น - ปูนซีเมนต์ผสม 34 กก. - ปูนขาว 20.59 กก. - ทรายหยาบ 0.086 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 20 ลิตร 9.3 ผนังคอนกรีตบล็อก ขนาด 0.07x0.19x0.39 (1 ตารางเมตร) - คอนกรีตบล็อก 13 ก้อน - ปูนซีเมนต์ผสม 6.75 กก. - ปูนขาว 3.87 กก. - ทรายหยาบ 0.03 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 5 ลิตร 9.4 ผนังคอนกรีตบล็อก ขนาด 0.09x0.19x0.39 (1 ตารางเมตร) - คอนกรีตบล็อก 13 ก้อน - ปูนซีเมนต์ผสม 9.47 กก. - ปูนขาว 5.43 กก. - ทรายหยาบ 0.04 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 5 ลิตร 9.5 ผนังคอนกรีตบล็อก ชนิดระบายอากาศขนาด 0.09x0.19x0.39 (1 ตารางเมตร) - คอนกรีตบล็อก 13 ก้อน - ปูนซีเมนต์ผสม 9.47 กก. - ปูนขาว 5.43 กก. - ทรายหยาบ 0.04 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 5 ลิตร 10.ปูนทรายส่วนผสมระหว่างซีเมนต์และทรายหยาบ อัตราส่วน 1:3 ใช้วัสดุดังนี้ (เผื่อวัสดุเสียหายแล้ว) 10.1 ปูนทรายรองพื้นสำหรับปูวัสดุแผ่นสำเร็จรูป/1 ารางเมตร (หนา 5 ซม.) - ปูนซีเมนต์ผสม 20 กก. - ทรายหยาบ 0.11 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 6 ลิตร 10.2 ปูนทรายรองพื้นสำหรับผนังบุด้วยวัสดุแผ่นสำเร็จ/1 ตารางเมตร (หนา 3 ซม.) - ปูนซีเมนต์ 12 กก. - ทรายหยาบ 0.07 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 4 ลิตร 10.3 ปูนทรายงานฉาบผิวซีเมนต์ขัดมันและขัดหยาบ/1 ตารางเมตร (หนา 2 ซม.) - ปูนซีเมนต์ 11 กก. - ทรายหยาบ 0.03 ลูกบาศก์เมตร - ปูนขาว 7.70 ลิตร - น้ำ 3 ลิตร 10.4 ปูนทรายรองพื้นผนังทรายล้างหรือหินล้าง/1 ตารางเมตร (หนา 3 ซม.) - ปูนซีเมนต์ 12 กก. - ทรายหยาบ 0.027 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 4 ลิตร 10.5 ปูนทรายรองพื้นผนังทรายล้างหรือหินล้างหินขัด/1 ตารางเมตร (หนา 5 ซม.) - ปูนซีเมนต์ 20 กก. - ทรายหยาบ 0.045 ลูกบาศก์เมตร - น้ำ 6 ลิตร 11. งานตกแต่งผิงผนังและพื้นงานช่างปูน 11.1 งานปูนฉาบ/1 ตารางเมตร - ปูนซีเมนต์ผสม 8.42 กก. - ทรายละเอียด 0.03 ลูกบาศก์เมตร - ปูนขาว 7.70 กก. - น้ำ 3 ลิตร 11.2 งานทำหินล้าง/1 ตารางเมตร - ซีเมนต์ขาว 8.4 กก. - ทรายละเอียด 0.03 ลูกบาศก์เมตร - หินเกล็ด 22 กก. - สีฝุ่น 0.05 ลิตร - น้ำ 5 ลิตร 11.3 งานหินขัด - ซีเมนต์ขาว 6.30 กก. - ทรายละเอียด 0.026 ลูกบาศก์เมตร - หินเกล็ดสีต่าง ๆ 22 กก. - น้ำ 6 ลิตร - สีฝุ่น 0.50 กก. - ขี้ผึ้งลงพื้น 0.03 กก. หมายเหตุ หินเกล็ด 1 ลูกบาศก์เมตร หนัก 1,600 กก. 12. ปริมาณวัสดุของงานฝาผนังและฝ้าเพดานและพื้นไม้/1 ตารางเมตร 12.1 ฝาไม้ 1/2"x6" ตีทับเกล็ด เคร่าไม้ 1 1/2"x3" @ 0.5 ม. c/c - ไม้ฝา 0.725 ลูกบาศก์ฟุต - ไม้เคร่า 0.25 ลูกบาศก์ฟุต - ตะปู 0.15 กก. 12.2 ฝาวัสดุแผ่นสำเร็จรูป 2 ด้าน เคร่าไม้ 1 1/2"x3" @ 0.40x0.60 ม. - วันดุแผ่นสำเร็จรูป 2 ตารางเมตร - ไม้เคร่า 0.515 ลูกบาศก์ฟุต - ตะปู 0.20 กก. 12.3 ฝ้าเพดานไม้ 1/2" ตีชนเซาะร่องตัววี เคร่า 1 1/2"x3" @ 0.40 ม. c/c - ไม้ฝาเพดาน 0.55 ลูกบาศก์ฟุต - ไม้เคร่า 0.42 ลูกบาศก์ฟุต - ตะปู 0.20 กก. 12.4 ไม้หนา 1" เข้าลิ้น/1 ตารางเมตร - ใช้ไม้พื้น 1.15 ลูกบาศก์ฟุต หมายเหตุ วัสดุทั้งหมดคิดเผื่อเสียหายแล้ว การคิดไม้เคร่า การหาจำนวนไม้โดยใช้ระยะห่างของไม้เคร่าหารด้วยด้านกว้างและด้านยาวของเนื่อที่ ๆ จะติดตั้งไม้เคร่าดังนี้ - ถ้าหารลงตัวให้เพิ่มอีก 1 ท่อน - ถ้าหารไม่ลงตัวให้เพิ่มไม้อีก 2 ท่อน เช่น ด้านกว้าง 3.50 ม. ใช้ระยะระหว่างเคร่า 0.60 ม. ใช้ไม้ 3.5/0.6 = 5 5/6 ต้องใช้ 5+2 = 7 ท่อน ด้านยาว 4.80 ม. ใช้ระยะระหว่างเคร่า 0.60 ม. ใช้ไม้ 4.8/0.6 = 8 ต้องใช้ 8+1 = 9 วิธีคิดโดยใช้ตัวไม้และระยะขนาดต่าง ๆ / ตารางเมตร ไม้เคร่า 1 1/2"x3" 0.60 : ใช้ไม้ 0.513 ลูกบาศก์ฟุต ไม้เคร่า 1 1/2"x3" 0.40 : ใช้ไม้ 0.616 ลูกบาศก์ฟุต ไม้เคร่า 2"x3" 0.60 : ใช้ไม้ 0.547 ลูกบาศก์ฟุต ไม้เคร่า 2"x3" 0.40 : ใช้ไม้ 0.774 ลูกบาศก์ฟุต ไม้เคร้า 2"x4" 0.60 : ใช้ไม้ 0.729 ลูกบาศก์ฟุต ไม้เคร้า 2"x4" 0.40 : ใช้ไม้ 1.032 ลูกบาศก์ฟุต |