หลักการ คิดราคาค่าก่อสร้าง พร้อมกับกำหนด ตัวแบบแปลนบ้าน
การคิดราคาค่าก่อสร้าง มีหลากหลายวิธีที่ทำกัน แล้วแต่ผู้รับเหมากับเจ้าของบ้านจะยอมรับว่าจะใช้แบบไหน สุดท้ายอยู่ที่ตกลงราคารวมกันว่าจะว่าจ้างในราคาเท่าไหร่ เป็นอันจบกระบวนการคิดราคา
ในที่นี้เราขอเสนอวิธีคิดคำนวนราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น เพื่อคำนวนหาค่าก่อสร้างและค่าออกแบบและแบบที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับที่ดินหรือความต้องการของเจ้าของบ้าน ตามขั้นตอนดังนี้
1. ก่อนอื่นเราต้องมองรูปที่ดินก่อน ว่ารูปที่ดินที่เรามีเป็นแบบไหน เช่น สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่จัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมคางหมู ฯลฯ
2. เมื่อเราทราบขนาดที่ดินแล้วว่าหน้ากว้างส่วนติดถนน เท่าไหร่ และลึกจากถนนไปเท่าไหร่ เช่น กว้าง 8 เมตร ลึก 18 เมตร
ในที่นี้เราขอเสนอวิธีคิดคำนวนราคาค่าก่อสร้างเบื้องต้น เพื่อคำนวนหาค่าก่อสร้างและค่าออกแบบและแบบที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับที่ดินหรือความต้องการของเจ้าของบ้าน ตามขั้นตอนดังนี้
1. ก่อนอื่นเราต้องมองรูปที่ดินก่อน ว่ารูปที่ดินที่เรามีเป็นแบบไหน เช่น สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่จัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมคางหมู ฯลฯ
2. เมื่อเราทราบขนาดที่ดินแล้วว่าหน้ากว้างส่วนติดถนน เท่าไหร่ และลึกจากถนนไปเท่าไหร่ เช่น กว้าง 8 เมตร ลึก 18 เมตร
3. มาดูเรื่องกฏหมายก่อสร้างเบื้องต้น มีคร่าวๆ ดังนี้
3.1 อาคารสิ่งปลูกสร้าง ที่ติดทางสาธารณะ ต้องมีระยะร่นตามกฏหมายกำหนด โดยหลักทั่วไป เทศบัญญัติต่างๆกำหนดไว้ที่ 2.00 เมตร
จากเขตที่ดิน ยกเว้น ที่เดินที่เขตทางหลวง ต้องเว้นระยะตามข้อกำหนดจากเขตทางหลวง 6.00 เมตร และหากเป็นอาคารชนิดอื่นๆ เช่นตึกแถว บ้านแถว ก็จะมีข้อกำหนดแตกต่างกันออกไปอีก แต่ในที่นี้เราจะกล่าวถึงบ้านพักอาศัย เท่านั้น อีกอย่าง รั้วก็ถือเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างชนิดหนึ่งด้วยครับ ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องบังคับให้เว้นระยะไว้ด้วยเหตุผล เพื่อใช้เป็นทางทางเท้าสาธารณะ เป็นเส้นทางการวางท่อวางสายต่างๆของสาธารณูปโภค จึงห้ามมิให้มีสิ่งกีดขวางบนทางเท้าแต่ อนุญาตให้ยื่นเข้ามาคลุมได้ ไม่เกิน แนวเขตที่ดิน (ข้อกำหนดมีย่อยอีกๆ) และต้องสูงไม่น้อยกว่า 3.25 ม.จากทางเท้า
3.2 อาคารพักอาศัยต้องมีที่ว่าง 30% ของพื้นที่ดิน หมายถึง เราจะสร้างอาคารได้ ไม่เกิน 70% ของพื้นที่ดินของเรา ตัวอย่าง ที่ดินกว้าง 8 เมตร ลึก 18 เมตร พื้นที่ = 144 ตารางเมตร พื้นที่ว่าง = 144 x 0.3 = 43.2 ตารางเมตร เพราะฉนั้นแบบบ้านของเราต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 100.8 ตารางเมตร
3.3 อาคารปลูกสร้างชิดเขตได้ ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงที่ชิดเขต หากมิได้รับความยินยอมต้องถอยร่นจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร หากต้องมีช่องเปิดออกสู่เขตที่ดินข้างเคียง ต้องมีระยะเว้นดังนี้ อาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องถอยร่น 2 เมตร อาคารสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ต้องถอยร่น 3 เมตร ทั้งนี้ตามเทศบัญญัติในแต่ละท้องที่ อนุโลมให้เปิดช่องเปิดได้ระยะน้อยกว่ากำหนดได้
3.4 กฎหมายอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การระบายอากาศ ทางเดินภายใน ความกว้างความสูงของขั้นบันได ขนาดห้องนอนต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 8 ตารางเมตรกว้างไม่ต่ำกว่า 2.50 เมตร อื่นๆ เมื่อวางแบบขอบเขตอาคารตามกฎหมายแล้วจะได้พื้นที่ประมาณ 98 ตารางเมตร แบบเว้น 50 ซม.
3.1 อาคารสิ่งปลูกสร้าง ที่ติดทางสาธารณะ ต้องมีระยะร่นตามกฏหมายกำหนด โดยหลักทั่วไป เทศบัญญัติต่างๆกำหนดไว้ที่ 2.00 เมตร
จากเขตที่ดิน ยกเว้น ที่เดินที่เขตทางหลวง ต้องเว้นระยะตามข้อกำหนดจากเขตทางหลวง 6.00 เมตร และหากเป็นอาคารชนิดอื่นๆ เช่นตึกแถว บ้านแถว ก็จะมีข้อกำหนดแตกต่างกันออกไปอีก แต่ในที่นี้เราจะกล่าวถึงบ้านพักอาศัย เท่านั้น อีกอย่าง รั้วก็ถือเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างชนิดหนึ่งด้วยครับ ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องบังคับให้เว้นระยะไว้ด้วยเหตุผล เพื่อใช้เป็นทางทางเท้าสาธารณะ เป็นเส้นทางการวางท่อวางสายต่างๆของสาธารณูปโภค จึงห้ามมิให้มีสิ่งกีดขวางบนทางเท้าแต่ อนุญาตให้ยื่นเข้ามาคลุมได้ ไม่เกิน แนวเขตที่ดิน (ข้อกำหนดมีย่อยอีกๆ) และต้องสูงไม่น้อยกว่า 3.25 ม.จากทางเท้า
3.2 อาคารพักอาศัยต้องมีที่ว่าง 30% ของพื้นที่ดิน หมายถึง เราจะสร้างอาคารได้ ไม่เกิน 70% ของพื้นที่ดินของเรา ตัวอย่าง ที่ดินกว้าง 8 เมตร ลึก 18 เมตร พื้นที่ = 144 ตารางเมตร พื้นที่ว่าง = 144 x 0.3 = 43.2 ตารางเมตร เพราะฉนั้นแบบบ้านของเราต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 100.8 ตารางเมตร
3.3 อาคารปลูกสร้างชิดเขตได้ ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงที่ชิดเขต หากมิได้รับความยินยอมต้องถอยร่นจากแนวเขตที่ดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร หากต้องมีช่องเปิดออกสู่เขตที่ดินข้างเคียง ต้องมีระยะเว้นดังนี้ อาคารสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องถอยร่น 2 เมตร อาคารสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่เกิน 23 เมตร ต้องถอยร่น 3 เมตร ทั้งนี้ตามเทศบัญญัติในแต่ละท้องที่ อนุโลมให้เปิดช่องเปิดได้ระยะน้อยกว่ากำหนดได้
3.4 กฎหมายอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การระบายอากาศ ทางเดินภายใน ความกว้างความสูงของขั้นบันได ขนาดห้องนอนต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 8 ตารางเมตรกว้างไม่ต่ำกว่า 2.50 เมตร อื่นๆ เมื่อวางแบบขอบเขตอาคารตามกฎหมายแล้วจะได้พื้นที่ประมาณ 98 ตารางเมตร แบบเว้น 50 ซม.
4. มาถึงตอนนี้เราทราบพื้นที่บ้านเราคร่าวๆ จากข้อกำหนด ตามข้อ 3 คือ ประมาณ 98 ตารางเมตร เอาตั้งไว้เป็นโจทย์ไว้ก่อน มาดูว่าเราต้องการบ้านกี่ชั้น สมมุตว่าต้องการบ้านชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น ต้องมาดูหัวข้อต่อไปนี้
4.1 ต้องการห้องนอนขนาดเท่าไหร่ กี่ห้อง
สมมุติว่า ต้องการ 3 ห้องนอน โดยมีห้องนอนใหญ่ ขนาดประมาณ 4 x 4 เมตร ห้องนอนกลาง 4 x 3 เมตร ห้องนอนเล็ก 3 x 3 เมตร
จะได้พื้นที่ห้องนอนทั้งหมดดังนี้ 4 x 4 = 16 และ 4 x 3 = 12 และ 3 x 3 = 9 พื้นที่ = 16 + 12 + 9 = 37 ตารางเมตร
4.2 ห้องรับแขก 1 ห้อง ขนาด 4 x 4 = 16 ตารางเมตร
4.3 ห้องอาหาร 1 ห้อง ขนาด 3 x 4 = 16 ตารางเมตร
4.4 ห้องครัว 1 ห้อง ขนาด 3 x 3 = 9 ตารางเมตร
4.5 ห้องน้ำ 2 ห้อง ขนาด 1.8 x 2.5 = 4.5 x 2 = 9 ตารางเมตร
4.6 เฉลียงหน้าบ้าน ขนาด 4 x 2.5 = 10 ตารางเมตร มีหลังคาคลุม
4.7 ซักล้าง ขนาด 2 x 3 เมตร = 6 ตารางเมตร ไม่มีหลังคาคลุม
สรุปพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด = 37 + 16 + 16 + 9 + 9 = 87 ตารางเมตร + พื้นที่ทางสัญจรภายใน 20 - 40% = ประมาณ 18 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ใช้สอยมีหลังคาคลุม = 10 + 87 + 18 = 115 ตารางเมตร
จะเห็นได้ว่า ตัวอาคารต้องเกินขนาดขอบเขตที่กำหนดไว้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องยกตัวอาคารเป็น 2 ชั้นหรือชั้นครึ่ง จึงจะได้อาคารตามความต้องการได้หรือถ้าต้องการพื้นที่ใช้สอยมากกว่านี้ หรือต้องลดจำนวนหรือขนาดห้องที่ต้องการลง
5. ค่าก่อสร้าง คิดได้ดังนี้
พื้นที่ใช้สอยอาคารแล้วครับคือ 115 ตารางเมตร (พื้นที่ภายใน) เราะประมาณราคาคร่าวๆ ได้ดังนี้ครับ
- ถ้าต้องการวัสดุเกรดดี รูปแบบสไตล์ ราคาตารางเมตรละ 10,000 - 12,000 บาท = 115 x 10,000 ค่าก่อสร้าง = 1,150,000 บาท
- ถ้าวัสดุธรรมดา - ปานกลาง รูปแบบไม่หรูหรา ราคาตารางเมตรละ 6,000 - 8,000 บาท = 115 x 6,000 ค่าก่อสร้าง = 690,000 บาท
6. ค่าออกแบบ - เขียนแบบ คิดได้ดังนี้
คิดจากพื้นที่ใช้สอยอาคาร = 115 x 70 = 8,050 บาทเท่านั้น (ค่าออกแบบให้ดูจากหน้าเว็บไซด์ของเรา) ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าวิชาชีพตามสมาคมสถาปนิกว่าด้วยเรื่องคิดค่าออกแบบ หรือเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซนต์ของค่าก่อสร้าง เราคิดท่านเพียง 1.16 % เท่านั้น ถูกกว่าข้อบังคับ
ค่าออกแบบของงานราชการที่กำหนดไว้ 2% ของค่าก่อสร้าง (หมายถึงค่าตอบแทนค่าวิชาชีพแก่หน่วยงานหรือบุคคลที่ออกแบบให้กับหน่วยงานราชการ)
4.1 ต้องการห้องนอนขนาดเท่าไหร่ กี่ห้อง
สมมุติว่า ต้องการ 3 ห้องนอน โดยมีห้องนอนใหญ่ ขนาดประมาณ 4 x 4 เมตร ห้องนอนกลาง 4 x 3 เมตร ห้องนอนเล็ก 3 x 3 เมตร
จะได้พื้นที่ห้องนอนทั้งหมดดังนี้ 4 x 4 = 16 และ 4 x 3 = 12 และ 3 x 3 = 9 พื้นที่ = 16 + 12 + 9 = 37 ตารางเมตร
4.2 ห้องรับแขก 1 ห้อง ขนาด 4 x 4 = 16 ตารางเมตร
4.3 ห้องอาหาร 1 ห้อง ขนาด 3 x 4 = 16 ตารางเมตร
4.4 ห้องครัว 1 ห้อง ขนาด 3 x 3 = 9 ตารางเมตร
4.5 ห้องน้ำ 2 ห้อง ขนาด 1.8 x 2.5 = 4.5 x 2 = 9 ตารางเมตร
4.6 เฉลียงหน้าบ้าน ขนาด 4 x 2.5 = 10 ตารางเมตร มีหลังคาคลุม
4.7 ซักล้าง ขนาด 2 x 3 เมตร = 6 ตารางเมตร ไม่มีหลังคาคลุม
สรุปพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด = 37 + 16 + 16 + 9 + 9 = 87 ตารางเมตร + พื้นที่ทางสัญจรภายใน 20 - 40% = ประมาณ 18 ตารางเมตร
รวมพื้นที่ใช้สอยมีหลังคาคลุม = 10 + 87 + 18 = 115 ตารางเมตร
จะเห็นได้ว่า ตัวอาคารต้องเกินขนาดขอบเขตที่กำหนดไว้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องยกตัวอาคารเป็น 2 ชั้นหรือชั้นครึ่ง จึงจะได้อาคารตามความต้องการได้หรือถ้าต้องการพื้นที่ใช้สอยมากกว่านี้ หรือต้องลดจำนวนหรือขนาดห้องที่ต้องการลง
5. ค่าก่อสร้าง คิดได้ดังนี้
พื้นที่ใช้สอยอาคารแล้วครับคือ 115 ตารางเมตร (พื้นที่ภายใน) เราะประมาณราคาคร่าวๆ ได้ดังนี้ครับ
- ถ้าต้องการวัสดุเกรดดี รูปแบบสไตล์ ราคาตารางเมตรละ 10,000 - 12,000 บาท = 115 x 10,000 ค่าก่อสร้าง = 1,150,000 บาท
- ถ้าวัสดุธรรมดา - ปานกลาง รูปแบบไม่หรูหรา ราคาตารางเมตรละ 6,000 - 8,000 บาท = 115 x 6,000 ค่าก่อสร้าง = 690,000 บาท
6. ค่าออกแบบ - เขียนแบบ คิดได้ดังนี้
คิดจากพื้นที่ใช้สอยอาคาร = 115 x 70 = 8,050 บาทเท่านั้น (ค่าออกแบบให้ดูจากหน้าเว็บไซด์ของเรา) ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมากๆ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าวิชาชีพตามสมาคมสถาปนิกว่าด้วยเรื่องคิดค่าออกแบบ หรือเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซนต์ของค่าก่อสร้าง เราคิดท่านเพียง 1.16 % เท่านั้น ถูกกว่าข้อบังคับ
ค่าออกแบบของงานราชการที่กำหนดไว้ 2% ของค่าก่อสร้าง (หมายถึงค่าตอบแทนค่าวิชาชีพแก่หน่วยงานหรือบุคคลที่ออกแบบให้กับหน่วยงานราชการ)