ผู้รับเหมาไม่อยากทำ BOQ สาเหตุเพราะอะไรครับ? ในมุมมองของผู้ที่จะสร้างบ้านหลายๆท่าน คงที่จะมีความคิดที่จะให้ผู้รับเหมาทำ BOQ เพื่อสามารถถอดราคาได้แบบสบายใจมีความคิดไว้ว่าจะยื่นให้ถอดแบบเพื่อเปรียบเทียบราคา เพื่อที่จะได้คุ้มค่าที่สุดในการสร้างบ้าน แต่เมื่อให้ผู้รับเหมา ทำ BOQ ให้ ผู้รับเหมาบางคนกลับไม่อยากทำและตีราคาให้จากก่อนมองแบบคร่าวๆ ทำให้ผู้ที่จะสร้างบ้านทั้งหลายเกิดว่าสงสัยว่าทำไมผู้รับเหมาถึงไม่ยอมทำ BOQ ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น เราก็ต้องการทราบราคาจริงที่เหมาะสม ถ้าส่วนประกอบหลายๆอย่างอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้และก็พร้อมที่จะจ้างงาน คราวนี้มาดูในมุมมองของผู้รับเหมากันบ้างว่าทำไมส่วนใหญ่ถึงไม่อยากที่จะทำ BOQ ให้กับเจ้าของบ้าน สาเหตุหลักๆที่ผู้รับเหมาไม่อยากที่จะทำ BOQ ให้ก็เพราะว่า เจ้าของบ้านส่วนใหญ่มักจะให้ทำ BOQ ให้ เพื่อไปเปรียบเทียบราคากับเจ้าอื่นๆและ ผู้รับเหมาบางรายไม่มีความชำนานในการถอด BOQ ทำให้ใช้เวลาในการถอด BOQ ซึ่งในมุมมองของผู้รับเหมานั้น ถือว่าเป็นการเสียเวลา เพราะนอกจากจะใช้เวลาในการถอดราคา BOQ ให้แล้ว ยังไม่ได้งานจากลูกค้า ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะอยากได้บ้านมากกว่างบที่ตัวเองมีเสมอ จึงจำเป็นที่จะต้องเปรียบเทียบราคา นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ช่างส่วนใหญ่ไม่อยากทำ BOQ ให้นั่นเอง ทั้งนี้เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยการที่เจ้าของบ้านอาจจะจ้างผู้รับเหมาทำ BOQ เพื่อที่จะได้ยุติธรรมสำหรับทั้งสองฝ่าย เจ้าของบ้านได้ BOQ และผู้รับเหมาก็ได้ค่าตอบแทน หรืออาจจะให้ใช้บริษัทภายนอกในการเข้าประเมินราคา จากกระทู้ https://pantip.com/topic/33975441
0 Comments
การประมาณราคาก่อสร้างมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจก่อสร้างทุกฝ่ายไม่ ว่าจะเป็นเจ้าของงาน สถาปนิก วิศวกร หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง ทั้งในด้านการดำเนินการก่อสร้าง และวงเงินค่า ก่อสร้าง และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบรายการก่อสร้าง หากประมาณราคาผิดพลาดอาจท าให้โครงการนั้นล้มเหลว ได้โดยง่าย เจ้าของงาน เป็นบุคคลที่สามารถก าหนดงบประมาณวงเงินค่าก่อสร้างเพื่อให้สถาปนิก หรือวิศวกรทำการ ออกแบบ สถาปนิกหรือวิศวกร เป็นบุคคลที่นำวงเงินหรืองบประมาณที่ได้จากเจ้าของงานมาพิจารณาออกแบบ รวมทั้งศึกษาหาความเหมาะสมของโครงการ หรือใช้ในการเสนอราคากลางแก่เจ้าของงาน ผู้รับเหมา เป็นบุคคลที่น าแบบจากเจ้าของงานมาประมาณราคาเพื่อเสนอราคา จึงมีความสำคัญมากที่ผู้รับเหมาะ จะต้องรู้จักวิธีการประมาณราคาก่อสร้าง เพราะถ้าเสนอราคาสูงเกินไปโอกาสที่จะได้งานก็มีน้อย ในทางตรงกัน ข้ามถ้าเสนอราคาต่ำเกินไปก็อาจเสี่ยงต่อการขาดทุน จนเป็นสาเหตุทำให้ทิ้งงานก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของงาน การประมาณราคาก่อสร้างยังมีประโยชน์ในกรณีที่เจ้าของเกิดการเปลี่ยนแปลงงาน คือเพิ่ม หรือลดงาน ในขณะก่อสร้าง จะช่วยให้ผู้รับเหมาสามารถตกลงราคากับเจ้าของงานเป็นหน่วยตามที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจริง จะช่วยให้ลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างผู้รับเหมากับเจ้าของงาน ซึ่งบางครั้งเจ้าของงานอาจเห็นเป็นเรื่อง เล็กน้อย สำหรับผู้รับเหมาถือเป็นต้นทุนในการผลิตอาจเกิดผลกระทบต่อกำไร-ขาดทุนได้ดังนั้นการคิดราคางาน เพิ่มหรือลดงานควรจะทาเป็นงานๆไป ณ เวลานั้นๆ ไม่ควรทิ้งไว้ทีหลังเนื่องจากงานเพิ่มหลายๆงานจะท าให้ราคา เปลี่ยนแปลงไปมากจนอาจท าให้เกิดปัญหาระหว่างเจ้าของงานและผู้รับเหมาเรื่องราคาที่สูงหรือต่ำเกินไป
การประมาณราคาก่อสร้าง เป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญสำหรับการก่อสร้างถือเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อคำนวณหาค่าดำเนินการ ปริมาณวัสดุในการก่อสร้าง และค่าแรงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนึ่งโปรเจคทั้งหมด กล่าวคือเป็นการพยากรณ์ราคาล่วงหน้าให้มีความใกล้เคียงความจริงมากที่สุด เพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณาการก่อสร้าง รวมไปถึงการจัดตั้งงบประมาณต่างๆ ให้ครอบคลุมโครงการอย่างละเอียด การมีความรู้ความเข้าใจในการประมาณราคาก่อสร้างจึงเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างควรรู้เท่านั้น หากคุณกำลังแพลนก่อสร้างบ้าน อาคาร สำนักงาน ฯลฯ การศึกษาเกี่ยวกับ การประมาณราคาก่อสร้าง เป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะคุณจะสามารถประมาณการด้านการเงินได้รอบคอบมากยิ่งขึ้น ซึ่งบทความนี้ได้รวบรวมหลักการสำคัญมาให้คุณได้เข้าใจอย่างง่ายๆ เพียงแค่ 5 หลักในการประมาณราคาก่อสร้างเท่านั้น 1. ความหมายของการประมาณราคาก่อสร้าง การประมาณราคาก่อสร้าง คือ การคาดคะเนราคาก่อสร้างให้มีความใกล้เคียง หรือ ครอบคลุมเท่ากับความจริงมากที่สุด เป็นการคำนวณหาปริมาณและราคาวัสดุ ค่าแรง ค่าก่อสร้าง ค่าภาษี ค่าโสหุ้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้หลักการวิเคราะห์จากข้อเท็จจริงตามราคากลางท้องตลาดควบคู่กับข้อมูลสถิติต่างๆ ในงานก่อสร้าง อย่างไรก็ตามการประมาณราคาก่อสร้างจะยังไม่ใช่ราคาจริงทั้งหมด แต่มีความใกล้เคียงราคาจริงพอสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ประมาณราคาและหลักการคำนวณราคาที่เลือกใช้ร่วมด้วย โดยทั่วไปแล้วผู้ประมาณราคาที่มีความเชี่ยวชาญมักจะ ประมาณราคาก่อสร้าง ได้ใกล้เคียงความจริงซึ่งมีความผิดพลาดเพียง 1-5% ของราคาจริงที่สรุปได้หลังการก่อสร้างเสร็จสิ้น 2. วัตถุประสงค์ของการประมาณราคาก่อสร้าง
3. อุปสรรคและปัญหาในการประมาณราคาก่อสร้าง
4. การประมาณราคาขั้นต้น เป็นการประมาณราคาก่อสร้างที่ทำได้โดยจะต้องมีแบบอาคารในการก่อสร้างทั้งหมด เพื่อใช้ในการคำนวณหาให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งผลลัพธ์ไม่ควรคลาดเคลื่อนเกิน 30% เป็นหลักการคำนวณหยาบให้เห็นภาพรวมชัดเจนก่อนที่จะประมาณราคาอย่างละเอียด โดยที่ผู้ประมาณราคาจะใช้วิธีนับหน่วยการใช้อาคารเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น โครงการหอพักที่ใช้การนับจำนวนห้องพัก แล้วคำนวณคร่าวๆ ต่อห้องว่าเท่าไหร่ จึงจะได้ผลลัพธ์ของทั้งโครงการ อย่างไรก็ตามผู้ประมาณราคาก่อสร้างอาจต้องมีข้อมูลพื้นฐานเพียงพอเพื่อใช้ในการคำนวณ รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น อัตราเงินเฟ้อ ขนาดของโครงการ ไปจนถึงค่า FACTOR F ที่เปลี่ยนแปลง 5. การประมาณราคาอย่างละเอียด มาถึงขั้นตอนการประมาณราคาก่อสร้างอย่างละเอียด ที่มีขั้นตอนและรายละเอียดอย่างย่อดังต่อไปนี้
จัดทำเอกสารประมาณราคาก่อสร้าง 1. การจัดทำบัญชีรายละเอียดประมาณราคา ขั้นตอนนี้กำหนดโดยสถาปนิกของโครงการและผู้ประมาณราคาจะทำหน้าที่คำนวณราคาอย่างละเอียดซึ่งประกอบไปด้วย
การประมาณราคา คืออะไร ?การประมาณราคาก่อสร้าง ถือเป็นกระบวนการสำคัญในการก่อสร้าง เป็นการจัดทำเอกสารในการประมาณราคาก่อสร้าง วิเคราะห์ พยากรณ์หรือคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งนักประเมินมีหน้าที่ในการนำเสนอข้อมูลราคาและวิเคราะห์ถึงต้นทุนที่ครอบคลุมโครงการก่อสร้างที่เกิดขึ้น ซึ่งกระบวนการทำนั้นค่อนข้างละเอียด ใช้เวลานานและลำบาก การเลือกนักประมาณราคาก่อสร้างที่ไม่เชี่ยวชาญนั้น อาจทำให้ราคาที่ประมาณคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงค่อนข้างมาก ทำให้ราคาประเมินที่ได้นั้น ไม่แม่นยำและไม่ตรงกับความเป็นจริง บทความนี้เราจะพูดถึงข้อควรระวังหรือสิ่งที่จะส่งผลต่อราคาในการประมาณราคาก่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงแบบหรือแก้ไขแบบก่อสร้างหากไม่ได้รับการประสานกับนักประมาณราคาก่อสร้าง จะส่งผลให้การประมาณราคาก่อสร้างกับแบบที่ปรับใหม่นั้น ไม่ตรงกัน หรือการเปลี่ยนแปลงแบบที่แบบมีความไม่ชัดเจนพอ ยิ่งไปกว่านั้นคือ การประสานงานไม่ตรงกับแบบงานที่ต้องการ ทำให้เกิดความล่าช้า และคลาดเคลื่อน ทำให้นักประเมินต้องทำการประมาณราคาก่อสร้างใหม่ กฎระเบียบด้านราคาของราชการ กฎระเบียบทางราชการ ส่งผลให้อุปกรณ์ในการก่อสร้างบางประเภทนั้นไม่สามารถกำหนดราคาได้ตามท้องตลาด ต้องใช้ราคาที่ราชการกำหนดเพราะเป็นราคาควบคุมจากทางกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งในบางครั้งราคาจากทางสำนักงบประมาณและราคาในท้องตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้นไปแล้ว หรือในบางครั้ง วัสดุบางอย่างเป็นวัสดุเดียวกัน แต่ราคาอาจจะแตกต่างกัน ทำให้ราคาในการประมาณราคาก่อสร้างอาจคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ข้อมูลราคาสิ่งก่อสร้าง ในบางครั้งการประมาณราคาก่อสร้างอาจมีการประเมินราคาที่ผิดพลาดหรือแตกต่างไปจากข้อมูลราคาที่ได้รับมา ซึ่งอาจะเกิดจากการที่ไม่ได้รับความร่วมมือจากทางร้านค้าอุปกรณ์นั้น หรือจากใบเสนอราคาที่ราคาซื้อขายไม่ตรงกับราคาในใบเสนอราคา ส่งผลให้การประมาณราคาก่อสร้างคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงได้ ดังนั้นหากต้องการที่จะประมาณราคาก่อสร้างที่แม่นยำ ควรเลือกและเปรียบเทียบนักประเมินหลาย ๆ เจ้า เพื่อให้เราสามารถเปรียบเทียบราคาสำหรับการประเมินได้ นักประมาณราคาก่อสร้าง
การประมาณราคาก่อสร้างต้องอาศัยเทคนิคหรือทักษะที่หลากหลาย เช่น ทักษะด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ในการอ่านแบบก่อสร้าง เทคนิคการก่อสร้าง ข้อมูลในด้านวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการประมาณราคาก่อสร้าง ซึ่งหากนักประเมินขาดทักษะใดทักษะหนึ่งไป อาจส่งผลให้การประมาณราคาก่อสร้างนั้นคลาดเคลื่อน และขาดความแม่นยำได้ หากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญรับประมาณราคาก่อสร้าง วิศวกรมืออาชีพ ที่รับทำ BOQ ถอดแบบบ้าน ถอดแบบอาคาร ถอดแบบโรงงาน รับประมาณราคาก่อสร้าง เพื่อขอยื่นกู้ธนาคาร งานละเอียด ครบถ้วน ให้คุณรู้ต้นทุนที่แท้จริง ที่ thaiboq.com แหล่งรวมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการถอดแบบ BOQ และประมาณราคาก่อสร้าง ที่พร้อมช่วยคุณ สามารถเข้ามาเลือกดูผู้เชี่ยวชาญของเราได้ก่อนที่ https://www.thaiboq.com/contact-us.html ที่มา : Website: Q-power, Tatc
1. ������ ปริมาณไม้แบบ = ความยาวของเส้นรอบรูปส่วนที่สัมผัสกับคอนกรีต x ความยาว =� ตารางเมตร 2. ������ ส่วนประกอบของไม้แบบ = ไม้แบบหนา 1 นิ้ว + ไม้เคร่าหรือไม้ประกับข้างแบบขนาด 1.5 x 3.0 นิ้ว + ไม้ค้ำยัน + ตะปู 3. ������ แต่ละครั้งที่รื้อถอนจะเสียหายประมาณ 10 % – 20 %� 4. ������ ใช้ได้ประมาณ 3 – 4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับวิธีการรื้อถอน 5. ������ สั่งไม้เป็น ลบ.ฟ.� เผื่อความยาวข้างละ 0.25 ม. สำหรับตัดต่อ 6. ������ ทาน้ำมันที่หน้าไม้ด้านที่สัมผัสกับคอนกรีตทุกครั้งจะทำให้ไม้ไม่ดูดซึมน้ำ ถอดแบบง่าย ผิวเรียบ 7. ������ ไม้แบบ 1 ตารางเมตร� ใช้ไม้� 0.7 – 0.9 ลบ.ฟ. และใช้ตะปู� 0.2� กก. 8. ������ ช่างไม้ 1 คน ใน 1 วัน หรือ 1 แรง ทำแบบเทพื้น คาน และตั้งค้ำยันได้ 4 ตารางเมตร 9. ������ ตัวแปรประสิทธิภาพการทำงาน ได้แก่ ความสูง ความยาก-ง่ายของแบบ ความละเอียดของการประกอบแบบสำหรับคอนกรีตเปลือย แบบฟอร์มที่ใช้ในการประมาณราคาจากเอกสารของ กรมโยธาธิการและผังเมือง มีดังนี้
การประมาณราคา ต้นทุนงานก่อสร้างของโครงการใดโครงการหนึ่ง เป็นเรื่องที่ต้องนํามาพิจารณาในแต่ละระดับนับตั้งแต่เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับเหมา ซึ่งจะพิจารณา ต้นทุนงานก่อสร้างที่ แตกต่างกัน นอกจากต้นทุนแล้วยัง ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกหลายอย่าง ในฐานะผู ้ประมาณราคา ต้องพยายาม อย่างทีสุดที่ จะให้ยอดค่าใช้จ่ายถูกต้องหรือใกล้เคียงความจริงมากทีสุด |
AuthorArchivesCategories
All
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
บทความแนะนำ
|